วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อาชีพนักเศรษฐศาสตร์

อาชีพนักเศรษฐศาสตร์

รายละเอียดของอาชีพ

นักเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาชีพที่ใช้ความรู้ระหว่างหลักตรรกศาสตร์ และศิลปะศาสตร์เป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค้า และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

1. การวางแผนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวเศรษฐกิจและสังคม

2. ทำการวิจัยค้นคว้าสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงาน

3. ศึกษา สำรวจข้อมูล เก็บรวบรวมเป็นสถิติเพื่อนำมาพิจารณาในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา

4. วิเคราะห์เศรษฐกิจ

5. ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

1. มีความสามารถทางตรรกศาสตร์

2. บุคลิกภาพดีน่าเชื่อถือ

3. มีความสามารถทางด้านภาษา

4. มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์

5. มีความสามารถด้านการสื่อสาร

6. มีความสามารถด้านสังคมและการบริหารงาน

7. อื่น ๆ

แนวทางการพัฒนาอาชีพ

1. นักเศรษฐศาสตร์

2. นักวิเคราะห์

3. ที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจ

4. อื่น ๆ

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

การเป็นนักเศรษฐศาสตร์ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางด้านตรรกศาสตร์ มีความสามารถทางด้านการคำนวณ วางแผน คิดวิเคราะห์ต่าง ๆ ด้วยความรอบคอบ ซึ่งต้องใช้ความสามารถทางด้านความรู้และหลักเหตุผล เพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพสูงสุด

นามปากกา

พยัคฆ์กูรู

วันเขียน

28/11/2554

อาชีพนักบริหาร

อาชีพนักบริหาร

รายละเอียดของอาชีพ

นักบริหาร ในยุคปัจจุบันมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทต่าง ๆ มีความต้องการนักบริหารหลายระดับ เช่น ผู้จัดการ ผู้จัดการสาขา ผู้จัดการฝ่ายผลิต ผู้จัดการฝ่ายบุคคล ผู้อำนวยการ ผู้บริหารงานต่างๆ อาชีพบริหาร คือ จึงเกี่ยวข้องกับการบริหารงานตามส่วนต่าง ๆ ของงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงสุด

ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

1. บริหารงานตามส่วนที่ได้รับผิดชอบ

2. การบริหารงานทั่วไป

3. การจัดสรรทรัพยากรให้มีคุณภาพ

4. การวางแผนธุรกิจ

5. การวิเคราะห์หาข้อบกพร่องของการบริหาร

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

1. มีความสามารถทางตรรกศาสตร์

2. บุคลิกภาพดีน่าเชื่อถือ

3. มีความสามารถทางการบริหารงาน

4. มีความสามารถด้านเหตุผล

5. มีความสามารถด้านการสื่อสาร

6. อื่น ๆ

แนวทางการพัฒนาอาชีพ

1. เจ้าของธุรกิจ

2. นักบริหารต่างองค์กรต่าง ๆ ทั้งรัฐและเอกชน

3. ผู้บริหาร CEO

4. อื่น ๆ

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

ในยุคปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เปิดสาขาการบริหารหลายแขนง เช่น การบริหารธุรกิจ การบริหารการศึกษา การบริหารความคัดแย้ง และอื่น ๆ รวมไปถึงการปกครองต่าง ๆ ผู้สนใจอาชีพนักบริหารจึงต้องแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพิ่มเติมความรู้อยู่เสมอ

นามปากกา

พยัคฆ์กูรู

วันเขียน

28/11/2554

ความสำคัญของแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว


ความสำคัญของแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว

แผนการจัดกิจกรรมแนะแนวมีความสำคัญหลายประการด้วยกัน ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้

1. ช่วยให้ผู้จัดกิจกรรมแนะแนวพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวให้มีความหลากหลายเหมาะสมกับสภาพผู้เรียน

2. ช่วยให้ผู้จัดกิจกรรมแนะแนวมีแนวทางการดำเนินกิจกรรมแนะแนวอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ช่วยให้สามารถกำหนดเนื้อหากิจกรรมแนะแนวที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีขั้นตอน

4. ช่วยให้ผู้จัดกิจกรรมแนะแนวสามารถทบทวนข้อบกพร่องของการจัดกิจกรรมได้

5. ช่วยส่งเสริมให้ผู้จัดกิจกรรมแนะแนวฝึกวางแผนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ

6. ช่วยให้ผู้จัดกิจกรรมแนะแนวมีความมั่นใจในการจัดกิจกรรมมากขึ้น

7. เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมแนะแนว


นามปากกา

พยัคฆ์กูรู

วันเขียน

28/11/2554

ความหมายของแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว

ความหมายของแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว

แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว หมายถึง แนวทางการดำเนินกิจกรรมแนะแนวที่มีขอบข่ายครอบคลุม การแนะแนวด้านอาชีพ ด้านการศึกษา ด้านส่วนตัวและสังคม หรือนอกเหนือจากนี้ตามความต้องการของผู้จัดทำเพื่อให้การจัดกิจกรรมมีทิศทางตามที่กำหนดไว้ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามขั้นตอนกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ

นามปากกา

พยัคฆ์กูรู

วันเขียน

28/11/2554

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเขียน blog ประเภทสารคดี

การเขียน blog ประเภทสารคดี

การเขียน blog ประเภทสารคดีมีความนิยมอย่างมากในวงการเขียนออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเขียนไปในแนวสาคดีการท่องเที่ยว

โครงสร้างการเขียน blog ประเภทสารคดี

ซึ่งการเขียน blog ประเภทสารคดีส่วนใหญ่ คือ การเขียนเรื่องข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริง

โดยมีโครงสร้างประกอบไปด้วย

-โจทย์ของเรื่อง

-การบรรยายสาระความรู้เรื่องนั้น ๆ

การเขียน blog ประเภทสารคดีควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน โดยมากจะมีที่มาของเรื่องจากประสบการณ์การเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ แล้วจึงนำมาแปลงภาษาให้น่าอ่าน เพื่อให้ผู้สนใจเข้าใจเนื้อหาของสารคดีนั้น ๆ ได้ง่ายการเขียนสารคดี มักจะให้ความรู้เชิงวิชาการ และสาระความรู้ทั่วไปประกอบด้วย ผู้สนใจนำไปเขียน blog ประเภทสาคดีควรศึกษาเพิ่มเติมนะครับ

นามปากกา

พยัคฆ์กูรู

วันเรียบเรียงใน (newnaew.net)

27/พ.ย./2554

การเขียน blog ประเภทเรื่องสั้น

การเขียน blog ประเภทเรื่องสั้น

การเขียน blog ประเภทวรรณกรรมเรื่องสั้น เป็นการฝึกงานเขียนอีกรูปแบบที่น่าสนใจ

เหมาะสำหรับผู้มีเรื่องราวประสบการณ์ หรือมีจินตนาการพอสมควร

การเขียน เรื่องสั้นมีโครงสร้างและองค์ประกอบที่ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1. ตัวละคร

2. สถานที่

3. สถานการณ์

4. มุมมอง

5. อื่น ๆ แล้วแต่ปัจจัยของเรื่อง

การเขียนเรื่องสั้นส่วนใหญ่แบ่งเนื้อหาเป็นตอน ๆ โดยเฉพาะเรื่องสั้นประเภทหนังสือนิยมเขียนเป็นตอนประมาณตอนละ 4 -8 หน้าเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจมากกว่านั้นก็แล้วแต่

แต่สำหรับเรื่อง สั้นในการเขียน blog ความแตกต่างกันเล็กน้อย คือ นิยมเขียนแบบชวนให้อ่านในตอนถัดไปหรือจบเป็นเรื่อง ซึ่งมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ประมาณค่าเอานะครับ เพราะการอ่านในหนังสือกับหน้าคอมความรู้มันต่างกัน หากเขียนยาวมากจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกขี้เกียจอ่านเรื่องสั้นเราก็ไม่อาจได้ใจ นักท่องเน็ต ซึ่งโดยปกติผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่มากชื่นชอบความไว รวดเร็ว มีสมาธิสั้น การเขียนจึงไม่ควรยาวมาก หากยาวควรแบ่งเป็นตอนย่อย ๆ เพื่อให้ติดตามในตอนต่อไป จะทำให้งานเขียนเรื่องสั้นของผู้สนใจมีผู้อ่านทุกวัยอยู่ตลอดเวลา

ลองนำไปประยุกต์ใช้นะครับ

นามปากกา

พยัคฆ์กูรู

วันเรียบเรียงใน (newnaew.net)

27/พ.ย./2554