วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข้อคิดที่ได้จากงานสัมมนา“อัตลักษณ์ และสีสันท้องถิ่นในงานเขียนของนักเขียนภาคเหนือ


ข้อคิดที่ได้จากงานสัมมนา

สัมมนาในวาระครบ 40  ปี  สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย  หัวข้อ  “อัตลักษณ์ และสีสันท้องถิ่นในงานเขียนของนักเขียนภาคเหนือ” เส้นทางสู่สากล  บนสายธารวรรณกรรมท้องถิ่น
จัดโดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย  ร่วมกับมหาวิทยาลัยพายัพ  โดยการสนับสนุนของบริษัทซีพีออลล์  และแอร์เอเชีย  วัน  ศุกร์ที่ 6  ก.ค. 2555 
โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆ  เช่น  ศ.ดร.  ประคองนิมมานเหมินท์
คุณมาลา  คำจันทร์  
รศ. สกุล  บุณยทัต 
อาจารย์อัคคภาค  เล้าจินตนาศรี
คุณกนกวลี   พจนปกรณ์
นายกสมาคมนักเขียน  คุณเจน  สงสมพันธุ์
ผศ. ลมูล  จันทน์หอม
รศ. สุพรรณ  ทองคล้อย
ผศ. วิลักษณ์  ศรีป่าซาง
คุณพินิจ  นิลรัตน์
คุณนรีภพ  สวัสดิรักษ์


จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมฟังการสัมมนาครั้งนี้ทำให้ได้รับแง่คิดดี ๆ  หลายเรื่องเกี่ยวกับวรรณกรรมล้านนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งแต่เดิมวรรณกรรมล้านนาเป็นวรรณกรรมที่รับใช้พุทธศาสนา  ถ่ายทอดผ่านการบันทึกด้วยอักษรล้านนา  โดยในยุคสมัยก่อนนั้นการคัดลอกวรรณกรรมล้านนาถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง   จึงมักนิยมคัดลอกวรรณกรรมเพื่อถวายให้วัด และการถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้ศาสนาเป็นสื่อกลางในการรับรู้เรื่องราว เนื่องจากคนในยุคก่อนมีผู้รู้หนังสือน้อย การเทศนาธรรมในวันสำคัญทางพุทธศาสนาจึงเป็นการได้รู้ได้ฟังเรื่องราวซึ่งมีพระภิกษุเป็นผู้สวดบรรยายเรื่องราวตามวรรณกรรม  ทำให้ผู้คนเข้าวัดฟังธรรมมีความชื่นชอบการฟังธรรมตามเรื่องราวที่เทศนา  เช่น  ธรรมมหาชาติเวสสันดรชาดก  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาติที่ 10 ของพระพุทธเจ้า  เป็นต้น 
อีกทั้งวรรณกรรมล้านนาพื้นบ้านในลักษณะของค่าว จ๊อย ซอ  วรรณกรรมมุขปาฐะ  ที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนา  บางครั้งมีลักษณะสองแง่สองง่าม

นับว่าล้านนามีเอกลักษณ์ทางด้านวรรณกรรมเฉพาะหลายอย่างที่ควรค่าแก่การถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือให้ผู้คนจากต่างถิ่นได้รับรู้ เรื่องราวต่าง ๆ  ซึ่งนักเขียนที่เป็นคนเหนือรุ่นใหม่ยังมีน้อย  การร่วมกันสืบสานผ่านการเขียนวรรณกรรมเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนในรูปแบบเรื่องราวผูกโยงกับวัฒนธรรมประเพณีนับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะร่วมกันถ่ายทอดให้สาธารณะชนได้รับรู้เกี่ยวกับความเป็นล้านนาที่ผู้คนขาดความสนใจละเลย หรือยังไม่ได้บันทึกไว้

แนวคิดดี ๆ เกี่ยวกับการเขียนวรรณกรรมจากงานสัมมนา
*การเขียนแบบอ่านจากบันทึก  ใบลาน  หรือเอกสาร แล้วนำมาเล่าใหม่
*การเขียนจากเรื่องราวตามท้องถิ่นที่ตนอาศัย
*การเขียนจากคำบอกเล่า  ของคนรุ่นก่อน
*เขียนจากประสบการณ์

องค์ประกอบที่สำคัญของวรรณกรรมสากล
*โครงสร้างสังคม
*ความเชื่อ ความศรัทธา
*การดำเนินชีวิต

งานเขียนที่ดี
สื่ออารมณ์ได้ดี 
สะเทือนความรู้สึก
กระตุ้นความคิด
ประเทืองปัญญา

วันที่เขียน
09/07/2555

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามความคาดหวังของงานแนะแนว


คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามความคาดหวังของงานแนะแนว

1.  รู้จักตนเองและพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ
2. ภูมิใจ มั่นใจในตนเองและกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
3. มีบุคลิกภาพที่ดี พึ่งตนเองได้
4. มีกิริยามารยาท แต่งกายและใช้คำพูดได้ถูกต้องตามกาลเทศะ
5. มีความมั่นคงทางอารมณ์
6. ทันโลก ทันเหตุการณ์และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้อย่าง เหมาะสม
7. เห็นภาพงานและสามารถทำงานตามลำดับขั้นตอนได้อย่างคล่องแคล่ว ถูกต้อง มีคุณภาพ
8. มีความขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน สามารถ  ประเมินปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
10.ทำงานอย่างมีความสุขและภูมิใจในผลงานของตนเอง  เห็น คุณค่าในสัมมาชีพ สามารถทำงานเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

คุณลักษณะของนักแนะแนว


คุณลักษณะของนักแนะแนว

1. มีคุณธรรม ความสุจริตและจริงใจ
2. รักษาความลับได้
3. ไม่ตัดสินปัญหาให้แก่ผู้มาขอรับบริการโดยใช้มาตรการของตนเองเป็นเกณฑ์
4. ให้การยอมรับนับถือในฐานะบุคคลของผู้มาขอรับบริการ
5. มีศรัทธาและเต็มใจในวิชาชีพของตน
6. เป็นผู้ที่มีน้ำใจรักงานที่ทำจริง ๆ คือสนใจ ชอบงานแนะแนวเป็นชีวิตจิตใจและมีความรับผิดชอบสูงในหน้าที่
7. เป็นผู้ที่หมั่นศึกษาหาความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิตอยู่เสมอ
8. เป็นผู้ที่มีความสามารถตระหนักในความเด่นและความด้อยของตนเอง พร้อมทั้งรู้แหล่งที่จะส่งผู้ขอรับบริการต่อไป เพื่อขอความร่วมมือในการช่วยเหลือและบำบัดอันเป็นไปตามกระบวนการและหลักวิชา
9. ไม่หลอกลวงหรือแสวงหาประโยชน์แก่ตนเอง
10. เป็นผู้ที่หมั่นตรวจสอบตนเองอยู่เสมอ ในการปฏิบัติหน้าที่บริการ พิจารณาผลงานที่ตนทำอย่างเที่ยงตรงรอบคอบปราศจากอคติว่าควรปรับปรุงตนเองในด้านใดบ้าง พร้อมทั้งยินดีรับฟังผู้อื่นและเมื่อนำมาไตร่ตรองด้วยปัญญาแล้ว พยายามปรับตัวให้มีประสิทธิภาพในงานอาชีพมากยิ่งขึ้น

(สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย)

จรรยาบรรณของนักแนะแนว


จรรยาบรรณของนักแนะแนว

1. ต้องรักษาความลับและรักษาประโยชน์ของผู้รับบริการ
2. ต้องมีศรัทธาต่องานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์รับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างเคร่งครัดและมีวิจารณญาณอันดี
3. ต้องให้บริการในขอบเขตความสามารถของตนไม่หลอกลวงผู้มารับบริการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
4. ต้องประพฤติตนอยู่ในขอบข่ายศีลธรรมอันดีงาม  เป็นผู้ทรงคุณธรรม  มีความเมตตาการุณย์แก่ผู้มารับบริการ
5. ต้องยึดมั่นในหลักวิชาชีพ เคารพสิทธิของผู้มารับบริการและไม่มีอคติในการให้บริการ

   สุโท  เจริญสุข

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อาชีพนักออกแบบสื่อการเรียน


อาชีพนักออกแบบสื่อการเรียน

รายละเอียดของอาชีพ
อาชีพนักออกแบบสื่อการเรียน คือ  อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ  การผลิตสื่อการเรียน เช่น  หนังสือ  แบบฝึกหัด  ชุดการสอน  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  บทเรียนสำเร็จรูป  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  นิทาน  หนังสือส่งเสริมการอ่าน  กิจกรรม  ของเล่น  เป็นต้น

ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
1.  คิดหาวิธีการผลิตสื่อการเรียนรูปแบบต่างๆ
2.  ออกแบบการจัดการเรียนรู้
3.  สร้างสื่อการเรียนรู้
4.  อื่น ๆ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1.  มีความคิดสร้างสรรค์
2.  มีความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้
3.   เข้าใจธรรมชาติของการเรียนรู้
4.  ชื่นชอบการประดิษฐ์คิดในสิ่งใหม่
5.  รักการอ่าน
6.  รักการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ อย่เสมอ
7.  อื่น ๆ

แนวทางพัฒนาอาชีพ
1.  เจ้าหน้าที่ผลิตสื่อการเรียนของสำนักพิมพ์
2.  เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษาของรัฐและเอกชน
3.  เจ้าของกิจการผลิตสื่อการเรียนรู้
4.  อื่น ๆ

แหล่งความรู้เพิ่มเติม
1.  ห้องสมุด
2.  มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน  สาขานวัตกรรมทางการศึกษา และสาชาวิชาเทคโลยีทางการศึกษา
3.  มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
4.  เว็บ  newnaew.net และ naenaew.blogspot.com
5.  เว็บไซต์ต่าง ๆ
6.  อื่น ๆ


ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
อาชีพนักออกแบบสื่อการเรียนรู้  เป็นอาชีพใหม่ที่น่าสนใจ เนื่องจากในยุคปัจจุบันช่องทางการสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้มีหลายรูปแบบ โดยเฉพาะบุคคลที่จบการศึกษาสายครุศาสตร์  สายการศึกษา  มีโอกาสที่จะเข้ามาประกอบอาชีพนี้ได้สูงเนื่องจากมีพื้นฐานด้านการจัดการศึกษา อาชีพนี้จึงเป็นอาชีพแห่งอนาคตอีกอาชีพที่น่าจับตามองเนื่องจากเม็ดเงินด้านการศึกษาเป็นเงินที่ผู้ปกครองต้องการลงทุนให้บุตรหลานของตนมีศักยภาพในการเรียนรู้ที่ดีอย่างไม่จำกัด

ผู้เขียน
นามปากกา
พยัคฆ์กูรู

วันที่เขียน
04/07/2555

อาชีพเช่าพระเครื่อง


อาชีพเช่าพระเครื่อง

รายละเอียดของอาชีพ
อาชีพเช่าพระเครื่อง  คือ  อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย พระเครื่อง  พระพุทธรูปองค์จำลอง  พระเครื่องชนิดต่าง ๆ เหรียญเกจิอาจารย์  พระภิกษุที่เป็นที่นับถือสำหรับประชาชนทั้งหลาย  เครื่องรางของขลัง  เป็นต้น

ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
1.  ซื้อพระเครื่อง และเครื่องรางของขลัง
2.  ขายพระเครื่อง และเครื่องรางของขลัง
3.  อื่น ๆ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1.  มีความรู้ความชำนาญในการแยกแยะพระเครื่องแต่ละรุ่น และชำนาญในการดูพระต่าง ๆ
2.  การประเมินราคา และการตั้งราคา
3.  ชื่นชอบการศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระเครื่องแต่ละแห่ง
4.  อื่น ๆ

แนวทางพัฒนาอาชีพ
1.  รับประเมินราคาพระเครื่อง
2.  เจ้าของแผลงพระเครื่อง
3.  อื่น ๆ

แหล่งความรู้เพิ่มเติม
1.  ห้องสมุด
2.  หนังสือเกี่ยวกับการดูพระเครื่อง
3.  หนังสือเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระ และประวัติความเป็นมาของเมืองต่างๆ
4.  มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
5.  เว็บ  newnaew.net และ naenaew.blogspot.com
6เว็บไซต์ต่าง ๆ
7.  อื่น ๆ


ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
เดิมที่การสร้างพระเครื่องต่าง ๆ มีเจตนาเพื่อให้ผู้คนที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาได้มีพระไว้เป็นเครื่องเตือนสติ และค่อยคุ้มภัยให้รู้สึกสบายใจ โดยการบูชาแบบให้เปล่าหรือบางแห่งก็เป็นสินน้ำใจสำหรับผู้ร่วมงานบุญเป็นสิ่งตอบแทนการสละเวลามาช่วยงานวัด  เนื่องจากคนสมัยก่อนนั้นนิยมร่วมแรงร่วมใจกันทำบุญด้วยกำลังกายและกำลังทรัพย์โดยหวังเพียงพลังแห่งบุญจะค่อยส่งเสริมให้อยู่เย็นเป็นสุข 
ในยุคปัจจุบันเครื่องร่างของขลัง หรือพระเครื่องที่ตกทอดจากรุ่นสุ่รุ่นกลายเป็นของสะสม การเช่าบูชาเพื่อเปลี่ยนมือเจ้าของจึงเริ่มมีขึ้นมาและพัฒนากลายเป็นอาชีพเช่าซื้อพระเครื่องที่สร้างเม็ดเงินในวงการพระเครื่องอย่างมหาศาล พระเครื่ององค์ที่หายาก ๆ มีจำนวนน้อย  ย่อมราคาสูงตามไปด้วย  ด้วยเหตุนี้อาชีพเช่าพระเครื่องจึงเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยม

ผู้เขียน
นามปากกา
พยัคฆ์กูรู

วันที่เขียน
04/07/2555

อาชีพช่างถ่ายภาพ


อาชีพช่างถ่ายภาพ

รายละเอียดของอาชีพ
อาชีพช่างถ่ายภาพ คือ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ  การวางองค์ประกอบของภาพ  ภาพแฟชั่น  ภาพประกอบนิตยสาร  ภาพต่าง ๆ เป็นต้น

ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
1.  ถ่ายภาพ
2.  จัดองค์ประกอบภาพ
3.  คิดรูปแบบการถ่ายภาพกับลักษณะของงาน
4.  อื่น ๆ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1.  มีความคิดสร้างสรรค์
2.  มีความสามารถในการใช้กล้องถ่ายภาพ
3.  มีความคิดด้านองค์ประกอบทางศิลปะ
4.  มีความรักในงานถ่ายภาพ
5.  อื่น ๆ

แนวทางพัฒนาอาชีพ
1.  ตากล้องถ่ายภาพ
2.  เจ้าของสตูลดิโอ
3.  อื่น ๆ

แหล่งความรู้เพิ่มเติม
1.  ห้องสมุด
2.  หนังสือเกี่ยวกับการถ่ายภาพ
3.  มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
4.  เว็บ  newnaew.net และ naenaew.blogspot.com
5.  เว็บไซต์ต่าง ๆ
6.  อื่น ๆ


ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
อาชีพช่างภาพ  นับว่าเป็นอีกอาชีพที่สร้างรายได้จากการสร้างสรรค์ผลงานการถ่ายภาพได้หลากหลายรูปแบบ  และสามารถสร้างงานให้กับผู้คนที่เกี่ยวข้องได้อย่างมากมาย เนื่องจากในยุคปัจจุบันการถ่ายภาพเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของงานต่าง ๆ  เช่น งานแฟชั่น  งานนิตยสาร งานหนังสือ งานมงคล  งานอวมงคลต่าง ๆ  โดยเฉพาะงานแต่งงานได้รับความนิยมมากและสร้างเม็ดเงินจากการถ่ายภาพคู่แต่งงานหลักพันถึงหลักหมื่น  จึงทำให้เกิดสตูลดิโอสำหรับถ่ายภาพคู่แต่งงานมากมาย ตลอดจนถึงการสร้างภาพเคลื่อนไหวอย่างเช่น การอัดวีดีโอเพื่อประกอบในงานแต่งงานให้แขกผู้ร่วมงานได้ดูและร่วมชื่นชม  นับว่าอาชีพช่างภาพเป็นอีกอาชีพที่น่าสนใจสำหรับคนยุคใหม่อย่างมาก

ผู้เขียน
นามปากกา
พยัคฆ์กูรู

วันที่เขียน
04/07/2555

อาชีพช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศ


อาชีพช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศ

รายละเอียดของอาชีพ
อาชีพช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศ คือ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการซ่อม  การล้างเครื่องปรับอากาศ  การเปลี่ยนน้ำยาแอร์  และตรวจเช็ค  ติดตั้งเครื่องปรับอากาศต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานที่

ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
1.  ซ่อมเครื่องปรับอากาศ
2.  ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
3.  เปลี่ยนถ่ายน้ำยาแอร์
4.  ตรวจสอบการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ
4.  อื่น ๆ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1.  มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
2.  มีความรู้พื้นฐานด้านการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
3.  มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
4.  รักในงานบริการ
5.  อื่น ๆ

แนวทางพัฒนาอาชีพ
1.  ช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศประจำศูนย์
2.  ครูสอนซ่อมเครื่องปรับอากาศ
3.  เจ้าของร้านจำหน่ายและติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
4.  อื่น ๆ

แหล่งความรู้เพิ่มเติม
1.  ห้องสมุด
2.  วิทยาลัยเทคนิคและวิทยาลัยสารพัดช่าง
3.  มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
4.  เว็บ  newnaew.net และ naenaew.blogspot.com
5.  เว็บไซต์ต่าง ๆ
6.  อื่น ๆ


ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
อาชีพช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศ  เป็นอาชีพที่เป้นได้ตั้งลูกจ้างและเป็นนายจ้างของตนเอง  เนื่องจากเมื่อมีประสบการณ์ทำงานเยอะ ๆ สามารถเปิดร้านหรือรับติดตั้งเครื่องปรับอากาศเองได้  เพราะปัจจุบันนี้บ้านส่วนใหญ่มีเครื่องปรับอากาศหลังละเครื่อง 2 เครื่องขึ้นไป  ทำให้อาชีพนี้สามารถสร้างรายได้อยู่ตลอดเวลา

ผู้เขียน
นามปากกา
พยัคฆ์กูรู

วันที่เขียน
04/07/2555