วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์แนะแนวการศึกษาและอาชีพ

ประโยชน์แนะแนวการศึกษาและอาชีพ

ประโยชน์ของการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ  มีประโยชน์ในแง่มุมต่าง ๆ  มากมาย
ในด้านการศึกษานั้น  การแนะแนวมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้อย่างเหมาะสม  เช่น
*ผู้เรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์  ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ทางการเรียน   โดยการจัดหาทุนการศึกษาให้
*ผู้เรียนที่ประสบปัญหาการเรียนต่าง ๆ   การแนะแนวช่วยเหลือผู้เรียนได้โดยการวิเคราะห์สภาพปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหา
*ผู้เรียนประสบปัญหาด้านการศึกษาต่อ  การแนะแนวช่วยเหลือด้วยการให้ข้อมูลสาขาวิชา  มหาวิทยาลัยต่าง ๆ การวางแผนการเรียนการศึกษาต่อและอื่น ๆ
ในด้านอาชีพ  จำเป็นอย่างยิ่งที่แนะแนวจะมีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ  และการวางแผนอาชีพ  การสมัครงาน  การทำงาน  การต่อยอดทางอาชีพ และอื่น ๆ

ฉะนั้นประโยชน์ของการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ  จึงเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของผู้เรียนอย่างมาก
       


ขอบคุณสำหรับผู้สนใจทุกท่าน 
ทุกท่านสามารถติ และนำเสนอแนวคิดการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมได้ตามลิ้งค์นี้นะครับ 
หรือ  e-mail :  newnaew@hotmail.co.th

ผู้โพส
พยัคฆ์กูรู

วันที่โพส

31  พฤษภาคม  2557

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ทศวรรษใหม่แห่งการสร้างบุคลากรเพื่อสังคม “จุดเปลี่ยนของการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา”

ทศวรรษใหม่แห่งการสร้างบุคลากรเพื่อสังคม  “จุดเปลี่ยนของการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา” 

ข้อคิดเห็นของการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรและก้าวต่อไปในโลกยุคอนาคตของการศึกษาในครั้งนี้เป็นเพียงการนำเสนอแนวทางแง่คิดต่าง ๆ  ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อนำเสนอต่อผู้สนใจโดยทั่วไปได้พิจารณาช่องทางการสร้างศักยภาพของบุคคลในยุคต่อไป

คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในยุคนี้เป็นยุคที่เกิดความเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างรวดเร็วมาก
ในด้านความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ  มีการพัฒนารูปแบบที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่  เช่น 
ด้านเทคโนโลยี
สื่อการเรียนรู้ใหม่ ๆ  ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น  เช่น  หนังสือต่าง ๆ  ได้พัฒนารูปแบบใหม่เป็น e-book  ซึ่งในต่างประเทศได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย  ในสังคมไทยก็เช่นกันความนิยมการอ่านหนังสือออนไลน์ผ่านทางเครื่องมือสื่อสารเริ่มเป็นที่ย่อมรับมากขึ้น  อีกทั้งมีข้อดีในด้านการประหยัดทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น  ลดการตัดต้นไม้ที่ใช้ทำกระดาษ  หนังสือในรูปแบบใหม่ยังจัดเก็บได้สะดวกภายในเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์
ด้านสังคม
เห็นได้ว่าสังคมในยุคปัจจุบันเต็มไปด้วยสภาพปัญหาต่าง ๆ  การแข่งขันระหว่างคนในสังคมเพิ่มมากขึ้น  ความเครียดในการเรียน  การทำงานสูงขึ้น  อีกทั้งสังคมยังมีการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมให้เข้าสู่สังคมเสมือนจริงหรือสังคมออนไลน์มากขึ้น  คนยุคใหม่หลายคนใช้สังคมออนไลน์เป็นช่องทางในการพูดคุยสื่อสารกัน  เป็นสังคมที่ไร้พรมแดนสามารถสื่อสารกันได้ทุกที่ทุกเวลา แม้ว่าแต่ละบุคคลจะอยู่ห่างไกลกันก็ไปเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร 
ด้านการเมือง
เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง  เข้าสู่รูปแบบความคิดเห็นต่างกันแบบสุดขั้ว   เกิดจากสภาพปัญหาทางสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสู่การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง และการแสดงสิทธิ  ความเสมอภาคของผู้คนในสังคมทุกภาคส่วน เพื่อลดความเลื่อมล้ำช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน  ระหว่างนักการเมืองกับประชาชน  ระหว่างการตีความกฎหมายกับช่องว่างทางกฎหมาย  การปฏิบัติใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันเพื่อไม่ให้เกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้มีอำนาจกับบุคคลธรรมดา  ระหว่างผู้มีฐานะร่ำรวยกับผู้มีฐานะด้อยกว่า  ปัญหาคนในเมืองกับคนชนบท ปัญหาการดูถูกคุณภาพชีวิตและการศึกษาของคนในสังคมที่แตกต่างกัน    ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากความเลื่อมล้ำทางสังคมสั่งสมมาช้านาน 
การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองจึงเปลี่ยนไปตามกลไกของการต่อสู้ทางความคิด  เมื่อใดก็ตามที่ความคิดของแต่ละฝ่ายเริ่มตกผลึก เมื่อนั้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการปกครองก็จะก้าวสู่ระบบการปกครองที่เสมอภาคเป็นธรรมต่อสังคม
ด้านการศึกษา
รูปแบบของการศึกษาในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ผู้คนต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทางด้านการศึกษาของบ้านเราทั้งด้านผู้เรียน  ที่จะต้องปรับตัวให้สามารถตามทันกับอารยประเทศ  สามารถแข่งขัน และก้าวสู่การเป็นประเทศที่เจริญทางด้านต่าง ๆ  การจะพัฒนาผู้เรียนให้ไปถึงจุดที่กล่าวไว้นั้นจุดสำคัญที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ การสร้างบุคลากรของชาติให้สามารถช่วยขับเคลื่อนทิศทางการพัฒนาอย่างมีแบบแผน  คือ  รัฐและสถาบันทางการศึกษาจะต้องให้ความสำคัญในการสร้างคน  ไม่ว่าจะด้านการผลิตบุคลการทางการศึกษา  หรือบุคลากรเพื่อตอบสนองต่อแรงงาน  ตอบสนองต่อสังคมในภาคส่วนต่าง ๆ จะต้องเน้นให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษามีอุดมการณ์ในการพัฒนาสังคมร่วมกัน

ดังนั้น  “จุดเปลี่ยนของการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา”  จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญด้านต่าง ๆ ดังนี้ 
1.  สร้างบุคคลให้ตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม
2.  สร้างบุคคลให้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ  มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมโดยรวม
3.  สร้างบุคลากรที่สำเร็จด้านการศึกษาให้สามารถทำงานได้รูปแบบต่าง ๆ  นอกเหนือจากการทำงานสายตรง  เช่น
เมื่อจบแล้วสามารถสร้างงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเรียนรู้ได้  โดยไม่จำเป็นต้องเป็นครูเฉพาะในโรงเรียน  แต่สามารถเป็นครูโดยจิตวิญญาณแห่งวิชาชีพครู  การทำงานในสายอาชีพต่าง ๆ  สามารถสอดแทรกจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูได้ 
ยกตัวอย่าง เช่น 
อาชีพนักผลิตสื่อการเรียนรู้   ซึ่งอาชีพนี้มีให้เห็นมานาน  แต่บุคคลที่ประกอบอาชีพนี้ส่วนใหญ่อยู่ในวงแคบมีอาชีพประจำเป็นครูหรือาจารย์ตามสถาบันทางการศึกษาซึ่งคนนอกเข้าถึงการประกอบอาชีพนี้ได้ยาก  ถ้าหากหน่วยงานของรัฐสามารถสนับสนุนบุคลากรให้สามารถจบมาแล้วทำงานในสายนี้ได้โดยตรงจะเป็นคุณูปการที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ไม่จำเป็นต้องปฏิรูป  แต่เป็นการต่อยอดของการพัฒนาการศึกษาที่ชัดเจนจับต้องได้
อาชีพนักเขียน  ซึ่งนักเขียนมีหลายรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป  การสร้างบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าสู่วงวิชาชีพของนักเขียนมีขอบเขตเนื้อหาในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ให้สังคมได้หลากหลายรูปแบบผ่านความคิดสร้างสรรค์  โดยนักเขียนที่มาจากสายการศึกษาย่อมได้รับการปลูกฝังความเป็นครูที่เข้มข้น  ให้ความสำคัญต่อการปลูกฝังการเรียนรู้  งานเขียนเล่านั้นย่อมจะสะท้อนรูปแบบแนวทางที่สอดแทรกสาระความรู้  ที่ช่วยสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปทางที่น่าจะคาดหวังได้บ้าง และเป็นการตอบสนองต่อการศึกษารูปแบบใหม่ ๆ
อาชีพนักผลิตสื่อบันเทิงและธุรกิจ
ในขนาดที่ช่องทางสื่อสารที่เพิ่มขึ้น  ผู้คนในยุคปัจจุบันและอนาคตมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป  การสร้างช่องทางการเรียนรู้  ผ่านรายการทีวี  หนัง  ละคร  เพลง  เป็นอีกช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย  การผลิตบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวสู่สื่อบันเทิง  และธุรกิจเพื่อการศึกษา  ย่อมจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางส่วนแบ่งของสื่อบันเทิงบางส่วนได้บ้าง  ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนทางการศึกษาที่มีรูปแบบที่หลากหลาย  ปัจจุบันมีการเกิดรายการประเภทนี้พอให้เห็นอยู่บ้าง  แต่ยังขาดการเอาจริงเอาจังและความต่อเนื่องในการสนับของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

จึงเห็นได้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและต่อการสร้างบุคลากรทางการศึกษาที่ตอบสนองต่อการพัฒนาสังคมในรูปแบบต่าง ๆ  สถาบันจึงควรมีการเพิ่มเนื้อหาหลักสูตรที่ช่วยให้เกิดสิ่งเหล่านี้  อาจเพิ่มวิชาเลือกในส่วนของจัดการสอน
เรื่อง  การผลิตสื่อการเรียนรู้  ซึ่งโดยทั่วไปสถาบันทางการศึกษาได้กำหนดไว้อยู่แล้ว  เช่น  วิชา  นวัตกรรมทางการศึกษา  เทคโนโลยีทางการศึกษา  แต่ยังขาดความทันสมัย  ขาดการสอนที่ช่วยให้นิสิตได้แนวคิดในการไปต่อยอดอาชีพใหม่ ๆ  ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการการเรียนรู้ที่สอดรับต่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  การพัฒนาวิชาเหล่านี้ให้นิสิตนักศึกษาสามารถผลิตสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสามารถใช้ได้จริง ย่อมจะส่งผลให้บุคลากรทางการศึกษาไม่ว่าจะสาขาวิชาใดที่จบไปสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายในส่วนที่สัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้  นอกเหนือจากการผลิตครูป้อนสถานศึกษาเท่านั้น  ซึ่งบุคลากรเหล่านี้จะเป็นส่วนเสริมในการพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

เรื่อง  การผลิตงานเขียน  วรรณกรรม  เรื่องสั้น  นิยาย  ตำราเรียน  งานเขียนต่าง ๆ   ไม่ค่อยได้เห็นการจัดการเรียนการสอนในการสร้างบุคลากรสายการศึกษา  ให้มีทักษะความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก  มีแต่บุคลากรสายอักษรศาสตร์  หรือผู้ที่สนใจโดยส่วนตัวเท่านั้นจะก้าวสู่การผลิตงานเขียน    การเพิ่มเติมหลักสูตรในการสร้างบุคลากรทางการศึกษา น่าจะเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนดังกล่าวเข้าไปด้วย  อาจจะช่วยจุดประกายไฟให้กับนิสิตนักศึกษาสายการศึกษาได้เข้าสู่วงการสร้างสรรค์เขียนได้บ้าง  ในระยะยาวบุคคลเหล่านี้ย่อมจะเป็นอีกส่วนที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาให้สมบูรณ์ขึ้น

เรื่อง การผลิตสื่อบันเทิงทางการศึกษา  เป็นอีกส่วนที่เกี่ยวข้องใกล้ตัวกับการพัฒนาการเรียนรู้ของคนในชาติ
การสร้างบุคลากรสายการศึกษา  ให้มีความรู้ความสามารถในด้านนี้ได้บ้างย่อมจะช่วยให้ช่องทางการเรียนรู้และการพัฒนาคนได้หลากหลายมากขึ้น  เนื่องจากอิทธิพลของสื่อบันเทิงมีผลต่อทัศนคติ  เจตคติของคนในสังคมอย่างมาก  การสร้างบุคลากรทางการศึกษาที่เอื้อต่องานเหล่านี้ ย่อมจะช่วยให้เกิดการพัฒนาสังคมด้วยฝีมือของผลผลิตสายการศึกษาได้มากก็น้อยตามกำลัง

หวังว่าข้อคิดเห็นดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจอ่านไม่มากก็น้อย 


ขอบคุณสำหรับผู้สนใจทุกท่าน 
ทุกท่านสามารถติ และนำเสนอแนวคิดการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมได้ตามลิ้งค์นี้นะครับ 
หรือ  e-mail :  newnaew@hotmail.co.th

ผู้โพส
พยัคฆ์กูรู

วันที่โพส

19  พฤษภาคม  2557

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สาระน่ารู้ : รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์

รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์

ปัจจุบันหลาย ๆ สถาบัน/มหาวิทยาลัยมีการเปิดการเรียนการสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์  เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี การออกแบบการก่อสร้าง  เครื่องมือ   เครื่องจักรกล  กระบวนการผลิตต่าง ๆ  

 ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สนใจเข้ารับการศึกษาจะต้องเตรียมค้นคว้าหาข้อมูล  รายละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานก่อนตัดสินใจเลือกเข้ารับการศึกษาในสถานบันต่าง ๆ

ภาคเหนือ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  วิทยาเขตภาคพายัพ เชียงใหม่
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  ลำปาง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  เชียงราย

คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยพะเยา
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะวิศวกรรมศาสตร์และอุสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ภาคกลาง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม(FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสยาม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คณะวิศวกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

ภาคอีสาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ภาคตะวันออก
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคใต้
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

(ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์)
ครั้งที่ 1  19/05/2557




ข้อตกลงเบื้องต้น
สารานุกรมแนะแนว เป็นหมวดหมู่สำหรับเก็บเรียบเรียงข้อมูลสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนว  ไม่เหมาะสำหรับนำไปใช้อ้างอิง  เนื่องจากเป็นเพียงสารานุกรมนอกกรอบ เพื่อนำเสนอสาระน่ารู้ตามแนวทางของนิวแนวเท่านั้น

ขอบคุณสำหรับผู้สนใจทุกท่าน 
***หมายเหตุ***
หากมีข้อมูลผิดพลาดทุกท่านสามารถติ และนำเสนอแนวคิดการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมได้ตามลิ้งค์นี้นะครับ 
หรือ  e-mail :  newnaew@hotmail.co.th

ผู้โพส
พยัคฆ์กูรู

วันที่โพส
19  พฤษภาคม  2557


สาระน่ารู้ : รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะวิทยาศาสตร์

รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันหลาย ๆ สถาบัน/มหาวิทยาลัยมีการเปิดการเรียนการสอนคณะวิทยาศาสตร์  เพื่อตอบสนองต่อการสร้างบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความเจริญความก้าวหน้าทางด้านต่าง ๆ  ที่อาศัยวิธีการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์และแก้ปัญหาต่าง ๆ
วิธีการทางวิทยาศาสตร์  คือ การสังเกตเพื่อระบุปัญหา  การตั้งสมมติฐานเพื่อหาคำตอบ  การรวบรวมข้อมูล  เพื่อนำผลมาตรวจสอบความถูกต้อง   และสรุปผล เพื่อหาข้อสรุปตามหลักการ พิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด ได้คำตอบอย่างไร

 ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สนใจเข้ารับการศึกษาจะต้องเตรียมค้นคว้าหาข้อมูล  รายละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานก่อนตัดสินใจเลือกเข้ารับการศึกษาในสถานบันต่าง ๆ

ภาคเหนือ
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยพะเยา
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

ภาคกลาง
คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสยาม


ภาคอีสาน
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลับราชภัฏมหาสารคาม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลับราชภัฎเลย

ภาคตะวันออก
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

ภาคใต้
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยทักษิณ
คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  
(ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์)
ครั้งที่ 1  19/05/2557



ข้อตกลงเบื้องต้น
สารานุกรมแนะแนว เป็นหมวดหมู่สำหรับเก็บเรียบเรียงข้อมูลสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนว  ไม่เหมาะสำหรับนำไปใช้อ้างอิง  เนื่องจากเป็นเพียงสารานุกรมนอกกรอบ เพื่อนำเสนอสาระน่ารู้ตามแนวทางของนิวแนวเท่านั้น

ขอบคุณสำหรับผู้สนใจทุกท่าน 
***หมายเหตุ***
หากมีข้อมูลผิดพลาดทุกท่านสามารถติ และนำเสนอแนวคิดการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมได้ตามลิ้งค์นี้นะครับ 
หรือ  e-mail :  newnaew@hotmail.co.th

ผู้โพส
พยัคฆ์กูรู

วันที่โพส

19  พฤษภาคม  2557