วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สวัสดีเดือนพฤษภาคม 2554

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเดือน พฤษภาคม 2554 ครับ

สำหรับเว็บ naenaew.blogspot.com และ newnaew.net
เป็นเว็บสำหรับการแนะแนวตามสไตล์ของผมเอง
ซึ่งเนื้อหาบางส่วนอาจยังไม่สมบูรณ์
ผมเองในนามผู้เขียนขอน้อมรับในคำติชม
หากที่ผู้สนใจท่านใดเห็นว่าข้อมูลส่วนใดไม่สมบูรณ์หรือขาดตกบกพร่องท่านสามารถแสดงความคิดเห็นด้านล่างบทความได้ผมยินดีน้อมรับและทำการแก้ไขให้เนื้อหาต่างๆ สมบูรณ์มากยิ่ง และจะดียิ่งขึ้นหากท่านช่วยเพิ่มเติมความคิดเห็นที่อาจเป็นประโยชน์ได้
เนื่องจากเว็บ blog แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ยุคการเรียนรู้เสรีนะครับ

มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมหรือต้องการสอบถาม แสดงความคิดเห็นได้ด้านล่างนี้เลยครับ พร้อมตอบทุกคำถามหากสามารถตอบได้นะครับ...

ความรู้พื้นฐานเรื่องการกำหนดขนาด หัวเรื่อง ขนาดตัวอักษร รูปแบบต่างๆ ของการทำรายงาน

ความรู้พื้นฐานเรื่องการกำหนดขนาดหัวเรื่อง ขนาดอักษร รูปแบบตัวอักษรต่าง ๆ

ความพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับงานพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ที่ขาดไม่ได้อีกหนึ่งเรื่อง คือ ขนาดหัวเรื่อง ขนาดอักษร รูปแบบตัวอักษรต่าง ๆ โดยเฉพาะงานพิมพ์วิชาการ ต้องมีรูปแบบที่เป็นสากลนิยมเท่านั้น

หัวเรื่อง

หัวเรื่อง อย่างเช่น บท แต่ละบท คือหัวประจำบท นิยมกำหนดขนาด เท่ากับ 18 หรือ 20 ตามหน่วยงานกำหนด แต่โดยส่วนใหญ่นิยมกำหนดขนาดตัวอักษรที่ 18 ตัวหนา

ส่วนประกอบของหัวเรื่องประจำบทต่าง ๆ

เช่น บทนำ ประกอบไปด้วยหัวเรื่อง คือ

ความเป็นและความสำคัญของปัญหา

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

สมมติฐานการศึกษา

ขอบเขตของการศึกษา

ข้อตกลงเบื้องต้น

นิยามศัพท์เฉพาะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษา

หัวเรื่องที่กล่าวมา ส่วนใหญ่นิยมกำหนดขนาดตัวอักษรที่ 16 ตัวหนา

รูปแบบตัวอักษร

สำหรับรูปแบบตัวอักษรในการพิมพ์ กำหนดให้ใช้ตัวอักษรเป็น Angsana เป็นรูปแบบอักษรที่ใช้กับภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษและสูตรต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบรายงานควรดูจากระเบียบการพิมพ์ที่หน่วยงานนั้น ๆ กำหนดขึ้น เนื่องจากในบางหน่วยงานอาจมีการกำหนดที่แตกต่างกันในบางส่วนจึงควรศึกษาจากคู่มือให้มาก เพื่อประโยชน์ในการจัดทำรายงานที่สมบูรณ์ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

เขียน วันที่ 14/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู


อ้างอิงข้อมูลจาก

newnaew.net


รู้จักกับองค์ประกอบเพิ่มเติมของการทำรายงานต่างๆ

รู้จักกับองค์ประกอบเพิ่มเติม ของการทำรายงานต่างๆ

ส่วนเพิ่มเติม คือ ส่วนของภาคผนวกเอกสารประกอบรายงาน 5 บท ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการนำเอกสารเพิ่มเติมเข้ามาประกอบเพื่อให้รายงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น เนื่องจากในการเขียนส่วนของ 5 บท อาจมีบางส่วนที่ผู้จัดทำต้องการอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้สนใจรายงานมีความเข้าใจในรายงานมากขึ้น เป็นการอธิบายเสริม หรือต้องการนำเสนอข้อมูลแสริมให้รายงานมีคุณภาพสมบูรณ์ เช่น การแสดงผลวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากในรายงาน 5 บท ในบทที่ 4 เป็นการสรุปผลผู้จัดทำจึงต้องการขยายความให้ผู้สนใจศึกษาต่อส่วนดังกล่าว เป็นต้น

ฉะนั้นผู้เขียนข้ออธิบายในส่วนเสริมของรายงาน พอสังเขป ดังนี้

เช่น

ภาคผนวก แบ่งเป็นภาคผนวกย่อย เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาของผู้สนใจ เช่น

ภาคผนวก รายนามผู้เชี่ยวชาญ

ภาคผนวก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

ภาคผนวก ผลการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ

ภาคผนวก ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพเครื่องมือ

ภาคผนวก ..........

ภาคผนวก ...........

ซึ่งสามารถเพิ่มเติมตามความต้องการของผู้จัดทำ

และส่วนสุดท้าย คือ ประวัติของผู้จัดทำ

สำหรับส่วนประกอบเพิ่มเติมนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของการศึกษาในการรายงานผล เช่น หากเป็นรายงานศึกษาเอกเทศที่ใช้เครื่องมือเป็นแบบสำรวจ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ควรภาคผนวกเท่าที่จำเป็น เช่นเครื่องมือ คือ แบบสำรวจ ประวัติ หรืออื่นๆ ก็ตามแต่เห็นสมควร ไม่ควรใส่ในส่วนที่ไม่จำเป็น

ระดับปริญญาโท เช่น การผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ ควรใส่ภาคผนวกในส่วนที่เสริมความเข้าใจให้ละเอียดพอสมควร และควรพิจารณาความเหมาะสมและความถูกต้อง

เขียน วันที่ 14/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู


ข้อมูลอ้างอิงจาก

newnaew.net

รู้จักกับองค์ประกอบส่วนอ้างอิงของการทำรายงานต่างๆ

รู้จักกับองค์ประกอบส่วนอ้างอิง ของการทำรายงานต่างๆ

การเขียนอ้างอิงเป็นส่วนสำคัญในการทำรายงานให้มีความถูกต้องตามหลักการที่กำหนดไว้

ส่วนอ้างอิง ได้แก่

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา

การเขียนเชิงอรรถ

การเขียนอ้างอิง

การเขียนบรรณานุกรม

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา เป็นการให้เกียรติเจ้าของบทความเดิมและเป็นการเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา โดยนำมายกไว้ในรายงานที่จัดทำขึ้น

ยกตัวอย่างที่ 1การเขียนอ้างอิงเนื้อหาส่วนหัว เช่น

คำก้อน สอนดี (2552 : 14) ได้กล่าวถึง การสอนที่ดี ควรมี............

คำก้อน สอนดี คือ ชื่อผู้แต่ง

2552 คือ ปี พ.ศ. ที่พิมพ์

14 คือ หน้า ของบทความที่นำมาอ้างอิง

จากตัวอย่างที่ 2 การเขียนอ้างอิงเนื้อหาส่วนท้าย เช่น

การสอนที่ดีควรมี............................

.......................................(คำก้อน สอนดี, 2552 : 14)

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหายังมีจุดเพิ่มเติมอีกนิด เช่น

ถ้าหากมีผู้แต่ง 2 คน จะใช้คำว่าและ

เช่น คำก้อน สอนดี และสงสัย สอนเก่ง (2552 : 14)

ถ้าหากมีผู้แต่งเกิน 2 ขึ้นไป นิยมใช้ผู้แต่งคนที่ 1 เป็นชื่อหลักตามด้วยคณะ

เช่น คำก้อน สอนดี และคณะ (2552 : 14)

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาสามารถหาอ่านเพิ่มเติมตามรูปแบบที่กำหนดของแต่ละสถาบัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่เหมือนกัน

การเขียนอ้างอิงทุกครั้งควรใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตลอดทั้งเล่ม

การเขียนเชิงอรรถ

เป็นการเขียนอ้างอิงส่วนล่างสุดของกระดาษ ซึ่งไม่นิยมค่อยได้รับความนิยม และถูกลดบทบาทลงไป เนื่องจากกินเนื้อที่ของกระดาษมาก จึงอาจทำให้การเขียนเชิงอรรถในอนาคตอาจหมดความสำคัญ

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากคู่มือการเขียนรายงานต่าง ๆ หรือในหนังสือวิชาการต่างๆ ปีพ.ศ. เก่า ๆ

เหตุผลที่ผู้เขียนไม่นำมาเขียนเป็นตัวอย่างเนื่องจากต้องการให้ผู้สนใจสามารถนำความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ไปประกอบการศึกษา ซึ่งการเขียนใช้อรรถในรายงานปัจจุบันไม่นิยมใช้ เพื่อป้องกันการสับสนจึงไม่ขอ อธิบายรายละเอียด หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถส่ง e – mail ได้ที่เว็บมาสเตอร์ newnaew@hotmail.co.th

การเขียนอ้างอิง

การเขียนอ้างอิง เป็นการนำรายชื่อของบุคคลหรือตำราเอกสารที่ถูกอ้างถึงในรายงาน 5 บท มาเรียบเรียงไว้ในส่วนท้ายเพื่อให้ผู้สนใจสามารถสืบค้นเพิ่มเติมจากรายการหนังสือ หรือเอกสารนั้นได้ ส่วนอ้างอิงกับบรรณานุกรม ต่างกันที่ การเขียนอ้างอิงใช้เฉพาะรายชื่อเอกสารหรือบุคคลที่กล่าวถึงในรายงาน 5 บทเท่านั้น ส่วนบรรณานุกรม สามารถเขียนรายชื่อเอกสารที่ไม่ถูกกล่าวถึงในรายงาน ซึ่งเราได้ศึกษาประกอบนำมาไว้ในบรรณานุกรมได้ แต่ไม่ควรใส่รายการมากเกินความเป็นจริง

การเขียนบรรณานุกรม

การเขียนบรรณานุกรม เป็นการนำรายชื่อหนังสือ หรือเอกสารที่นำมาอ้างอิง และนำมาประกอบการศึกษา เขียนเป็นรายการไว้ในส่วนของบรรณานุกรม เพื่อให้ผู้สนใจสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้ โดยเน้นรายการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาในรายงาน 5 บท

ซึ่งการเขียนอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ควรศึกษาระเบียบการพิมพ์ของแต่ละแห่งเนื่องจากมีความแตกต่างกันในบางส่วน จึงควรศึกษาเพิ่มเติมจากหลาย ๆ แหล่ง

เขียน วันที่ 14/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู


อ้างอิงข้อมูลจาก

newnaew.net

รู้จักกับองค์ประกอบด้านเนื้อหาของการทำรายงานต่างๆ

รู้จักกับองค์ประกอบเนื้อหา ของการทำรายงานต่างๆ

ส่วนเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญมากของการทำรายงาน เนื่องจากทุก ๆ บทมีความสำคัญที่แตกต่างกันเพื่อให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของผลงาน การศึกษารายละเอียดในเรื่องขององค์ประกอบเนื้อหารายงานจึงไม่ควรผิดพลาดและไม่ควรขาดหายในส่วนใดส่วนหนึ่ง

ซึ่งองค์ประกอบส่วนเนื้อหา ประกอบไปด้วย

บทที่ 1/บทนำ มีรายละเอียดตามหัวเรื่องดังนี้

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

สมมติฐานของการศึกษา

ขอบเขตของการศึกษา

ข้อตกลงเบื้องต้น

นิยามศัพท์เฉพาะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

กรอบแนวคิด

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา

รูปแบบของการศึกษา

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

การสร้างและการหาประสิทธิภาพเครื่องมือ

การทดลองใช้เครื่องมือ

ขั้นตอนการดำเนินการศึกษา

การจัดกระทำข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

บทที่ 4 ผลการศึกษา

รายละเอียดของผลการวิเคราะห์

บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา

อภิปรายผลการศึกษา

ข้อเสนอแนะ

*หมายเหตุ

สำหรับ องค์ประกอบส่วนเนื้อหาอาจมีการเรียงลำดับหรือมีส่วนประกอบบางส่วนที่ไม่ เหมือนกันในแต่ละสถาบัน จึงควรศึกษาจากคู่มือการทำรายงานของแต่ละสถาบันให้ละเอียด

หรือจะใช้ตามผู้เขียนควรพิจารณาตามความเหมาะสมนะครับ


อ้างอิงข้อมูลจาก

newnaew.net

รู้จักกับองค์ประกอบส่วนหน้า ของการทำรายงานต่างๆ



พื้นฐานการทำรายงาน ไม่ว่าจะเป็นรายงานวิชาการต่างๆ ตามระดับการศึกษา หรือรายงานการวิจัย ส่วนใหญ่แล้วมีองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นผู้เขียนจึงใช้รูปแบบตามความถนัดของผู้เขียน สำหรับผู้ที่กำลังสนใจทำรายงานหรือต้องเตรียมตัวทำรายงานส่ง ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือการเขียนรายงานอื่นๆ ประกอบ

ปกนอก
ส่วนสำคัญที่สุดของการทำรายงานวิชาการหรือรายงานต่าง ๆ เนื่องจากปกนอกเป็นตัวแรกที่ผู้อ่านเห็นเป็นอันดับแรกก่อนที่จะสนใจศึกษาข้อมูลภายใน หากการเขียนหัวเรื่องของปกนอกไม่น่าสนใจหรือเขียนยาว ๆ เป็นการบรรยายเล่นคำต่างๆ คงไม่ดีแน่ เพราะการเขียนหัวเรื่องของรายงานวิชาการต้องชัดเจน ตรงไปตรงมา อ่านแล้วไม่จำเป็นต้องตีความ ถึงจะเป็นการตั้งชื่อหัวเรื่องปกนอกได้ดี
บอกรายละเอียดผู้ศึกษาชัดเจน
บอกรายละเอียดของหน่วยในที่สังกัดหรือจัดทำ
บอกปีที่ศึกษา

ปกใน
เหมือนกับปกนอก แต่อาจมีบางส่วนที่แตกต่างกันบ้าง ลองศึกษาจากระเบียบที่กำหนดของแต่ละหน่วยงาน เพราะแต่ละหน่วยงานกำหนดไม่เหมือนกัน ผู้เขียนจึงเขียนไว้กลาง ๆ ที่ส่วนใหญ่ใช้กัน คือ นำปกนอกมาพิมพ์เป็นปกรอง

คำนำ
ส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้กัน แต่เพื่อความครบถ้วนสมบูรณ์ผู้เขียนจึงอธิบายรายละเอียดให้พอเข้าใจ
คำนำเป็นการเกริ่นเรื่องที่กำลังศึกษา ศึกษาเพื่ออะไร มีความเป็นมาโดยย่ออย่างไร มีประโยชน์ต่อใคร เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจโดยคร่าว ๆ พอสังเขปก่อนเข้าไปสู่เนื้อหาอื่นๆ

กิตติกรรมประกาศ
เป็นส่วนที่แสดงความขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือผู้มีพระคุณต่าง ๆ นิยมแบ่งย่อหน้าประมาณ 3 - 4 ย่อหน้าตามความต้องการของผู้จัดทำรายงาน
ส่วนใหญ่จะกล่าวถึง ผู้มีพระคุณอันดับต้น ๆ ที่สำคัญก่อน จากนั้นกล่าวถึงผู้ให้ความช่วยเหลือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ความร่วมมือ หรือจะเป็นผู้ให้กำเนิดก็แล้วแต่เห็นควรของแต่ละบุคคล เพื่อแสดงการให้เกียรติและความกตัญญูเป็นนิสัยที่คนไทยนิยมยกย่อง บางครั้งจึงมีความยาวเต็ม 1 หน้ากระดาษ
แต่ส่วนนี้ผู้อ่านไม่ค่อยให้ความสำคัญสักเท่าไหร่ เป็นผลทางจิตใจของผู้จัดทำรายงานเท่านั้น

บทคัดย่อ
รายละเอียดสำคัญอีกส่วนที่มีผลต่อการอ่านเนื้อหาของผู้สนใจ เนื่องจากบทคัดย่อเป็นการสรุปเรื่องราวโดยย่อทั้งเล่มรายงาน ผู้อ่านจะอ่านจากต้องนี้ก่อนเป็นอันดับแรก หากไม่ตรงกับความสนใจของผู้อ่าน หรือเขียนบทคัดย่อไม่ดี ก็ถูกสรุปรวมว่าทั้งเล่มอาจไม่มีความคุณภาพในสายตาของผู้อ่าน
การเขียนบทคัดย่อที่ดีจึงต้องเขียนให้ครอบคลุมครบองค์ประกอบ และไม่ควรเกิน 2 หน้ากระดาษ
ตัวอย่าง เช่น
บทคัดย่อ กล่าวถึง
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
วิธีดำเนินการศึกษา ประกอบด้วยกลุ่มประชากร/กลุ่มตัวอย่าง สถานที่ วิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อสรุปผลของการศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้น

**อ่านง่าย ชัดเจน ตรงประเด็น

สารบัญ
ส่วนสำคัญมากของรายงาน เพื่อให้ทราบข้อมูลต่างๆ อยู่ในส่วนใด ง่ายต่อการเปิดอ่าน การเขียนสารบัญจึงควรมีความถูกต้องแม่นยำ เนื่องจากผู้อ่านส่วนใหญ่มักจะไม่อ่านรายงานทั้งเล่มแต่จะเลือกอ่านในบางส่วนอย่างเช่น ความเป็นมา หรือสรุปผลการศึกษา เป็นต้น ผู้อ่านจึงต้องการทราบข้อมูลว่าสิ่งที่ต้องการอ่านอยู่หน้าใด การเขียนสารบัญจึงควรเช็คความถูกต้องอย่างรอบคอบ

สารบัญตางราง
เป็นส่วนของรายละเอียดของหน้ารายงานที่มีการแสดงตารางต่างๆ อย่างเช่น การแสดงผลข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จในการทดลองหรือในการศึกษา การเขียนสารบัญตาราง จึงต้องมีความละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านเปิดหาข้อมูลตารางได้รวดเร็วและถูกต้องตามรายการ

สารบัญแผนภูมิ/สารบัญภาพ
เป็นการแสดงข้อมูลหน้าที่มีภาพประกอบหรือแผนภูมิประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถสืบค้นได้ตามหมายเลขหน้าของเอกสาร

ฉะนั้นองค์ประกอบส่วนหน้าจึงมีส่วนสำคัญอย่างมาก เพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลของรายงานโดยรวมก่อนเข้าสู่เนื้อหาหลักของรายงานที่จัดทำ


ข้อมูลอ้างอิงจาก
newnaew.net

ความรู้พื้นฐานเรื่ององค์ประกอบของรายงาน



รายงานต่างๆ มักจะมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะรายงานวิชาการของนักศึกษา เช่น การทำรายงานการศึกษาเอกเทศ การทำรายงานการค้นคว้าแบบอิสระ การทำรายงานภาคนิพนธ์ การทำรายงานวิทยานิพนธ์ การทำรายงานดุษฎีนิพนธ์ การทำรายงานการวิจัย เป็นต้น
ซึ่งส่วนประกอบโดยส่วนใหญ่นิยมกำหนดขึ้นตามองค์ประกอบดังนี้
- องค์ประกอบส่วนหน้า
- องค์ประกอบส่วนเนื้อหา
- องค์ประกอบส่วนอ้างอิง
- องค์ประกอบส่วนเพิ่มเติม

องค์ประกอบส่วนหน้า ได้แก่
ปกนอก
ปกใน
คำนำ
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
สารบัญ
สารบัญตางราง
สารบัญแผนภูมิ/สารบัญภาพ

องค์ประกอบส่วนเนื้อหา ได้แก่
บทที่ 1/บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา
บทที่ 4 ผลการศึกษา
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

องค์ประกอบส่วนอ้างอิง ได้แก่
การเขียนเชิงอรรถ
การเขียนอ้างอิง
การเขียนบรรณนุกรม

องค์ประกอบส่วนเพิ่มเติม ได้แก่
ภาคผนวก
ภาคผนวกจะมีการแบ่งออกเป็นภาคผนวกต่างๆ ตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ต้องการนำมาประกอบในรายงาน

ฉะนั้นในการทำรายงานแต่ละครั้งควรศึกษาตัวอย่างและองค์ประกอบของรายงานให้ละเอียดเพื่อประโยชน์สูงสุดในการทำรายงานให้เกิดความสมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักวิชาการ

เขียน วันที่ 14/05/2554
ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู

อ้างอิงข้อมูลจาก
newnaew.net

ความรู้พื้นฐานเรื่องการวรรคตอนต่างๆ

ความรู้พื้นฐานเรื่องการวรรคตอนต่าง ๆ

การวรรคตอนต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ควรศึกษาให้ละเอียดเพื่อความถูกต้อง และสวยงามเป็นไปตามหลักวิชาการ

การวรรคตอน ส่วนใหญ่ของการทำรายงานต่างๆ ใช้มาตรฐานเดียวกัน แต่ในปัจจุบันมีความสะดวกมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับในการพิมพ์เอกสารคือใช้รูปแบบที่กำหนดเดิม กับรูปแบบที่กำหนดด้วยโปรแกรมอัตโนมัติสากลนิยม

การเว้นวรรคตอน

การเว้นวรรคตอนเป็นการสร้างความสวยงามของการพิมพ์เอกสารให้อ่านง่าย โดยการพิมพ์และการเขียนในสมัยก่อนไม่นิยมวรรคตอน เขียนยาวไปจนจบเนื้อหาทำให้อ่านยาก ผู้อ่านเหนื่อยต่อการอ่านเนื้อหา การกำหนดวรรคตอนจึงเกิดขึ้น เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่แตกต่างจากภาษาอื่นๆ อย่างเช่น ภาษาอังกฤษใช้การ . เพื่อแบ่งประโยค ภาษาไทยจึงมีการกำหนดวรรคตอนให้เป็นสากลนิยมมากขึ้นทำให้อ่านง่าย ผู้อ่านได้มีช่วงพักในการอ่าน ด้วยเหตุดังกล่าวการวรรคตอนจึงมีความสำคัญไม่น้อย

การเว้นช่องไฟ คือการเว้นวรรค นิยมกำหนดให้ เว้นวรรค 2 เคาะ หรือ 1 เคาะตามเห็นสมควร

แต่โดยส่วนใหญ่นิยม 2 เคาะมากกว่า เนื่องจากไม่ทำให้อักษรติดกันจนเกินไป การเว้น 1 เคาะยังทำให้อักษรดูชิดกันอยู่

สัญลักษณ์ที่ใช้แทนการเคาะเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ

1 เคาะ แทนด้วย /

2 เคาะ แทนด้วย //

ตัวอย่าง เช่น

การอ่านเป็นกระบวนการฝึกฝนทางความคิดให้เกิดความคิดแปลกใหม่//เพื่อเป็นการฝึกฝนการอ่านที่ดีเราควรอ่านอย่างน้อยวันละ/1//ครั้ง

ฉันนั้นการจัดช่องไฟ ควรดูตามความเหมาะสม เนื่องจากหากต้องการจัดอักษรแบบกระจาย การใช้การเคาะจะไม่ได้ผล ควรพิจารณาตามความสวยงามจะดีที่สุด

การขึ้นย่อหน้าใหม่

การย่อหน้าและการขึ้นย่อหน้าใหม่มีความละเอียดถี่ถ้วนอย่างมาก เพื่อให้รายงานเป็นสากลนิยม การขึ้นย่อหน้าจึงมีด้วยกัน 2 รูปแบบที่ใช้กันมากที่สุด คือ

การขึ้นย่อหน้าด้วยการเว้น 8 ช่วงตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 9 เป็นมาตรฐานเดิมที่รายงานส่วนใหญ่ในบ้านเราใช้กัน

การขึ้นย่อหน้าด้วยรูปแบบอัตโนมัติจากโปรแกรมพิมพ์เอกสาร เป็นมาตรฐานที่สากลนิยมใช้กัน เนื่องจากเป็นวัฒนธรรมโดยอัตโนมัติ เพราะส่วนใหญ่คุ้นเคยการการพิมพ์งานและการย่อหน้าที่โปรแกรมกำหนดขึ้น

ด้วยการกด Tab ตรงแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์

ส่วนอื่นๆ ที่ควรศึกษาเพิ่มเติม คือ

การกำหนดหัวข้อย่อยและการย่อหน้าตัวข้อย่อย เช่น

1. กกกกกกกกกก

1.1 กกกกกกกกกก

1.2 กกกกกกกกกก

หรือ

กกกกกกกกกกกกก

กกกกกกกกกกกกก

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากระเบียบการพิมพ์ของหน่วยงานต่างๆ หรือพิจารณาตามความเหมาะสม

เขียน วันที่ 14/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู


อ้างอิงข้อมูลจาก

newnaew.net