วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประชาสัมพันธ์ประจำเดือนกรกฎาคม 2554

สวัสดีพี่ ๆ น้อง ๆ และท่านผู้สนแนะแนวสไตล์ newnaew.net

สำหรับเดือนกรกฎาคม 2554 นี้ ขอความอนุเคราะห์จากทุกท่านที่แวะเวียนเข้ามาทั้งทางเว็บ newnaew.net และ naenaew.blogspot.com ช่วยกรอกแบบสำรวจด้านข้างเว็บทั้ง 2 ด้วยนะครับ
ขอขอบพระคุณอย่างสูง เนื่องจากผมในนามผู้จัดทำเว็บไซต์และทำเว็บ blog ต้องการพัฒนาเนื้อหาเว็บให้สอดคล้องกับความต้องการของทุกท่าน จึงขอให้ทุกท่านที่แวะเวียนช่วยกรอกข้อมูลด้วยนะครับ
หรือจะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมด้านท้ายข้อความก็จะเป็นการดียิ่ง

เพื่อประโยชน์สำหรับการเพิ่มเนื้อหาข้อมูลให้เหมาะสมกับกลุ่มเข้าใช้บริการทุกท่าน

ขอบคุณครับ

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีทำน้ำมันมะพร้าว ตอนการสกัดร้อน


วิธีทำน้ำมันมะพร้าว ตอนที่ 2 การสกัดร้อน



อุปกรณ์ที่ควรเตรียม คือ

มะพร้าวขูดประมาณ 1 กิโล หรือตามความต้องการ

เครื่องขูดมะพร้าว

กะละมังใส่มะพร้าวขูด

น้ำอุ่น

ผ้าขาวบาง

กระทะ

ตะหลิว

กระช่อน

วิธีทำ

1. เตรียมมะพร้าวที่ขูดเรียบร้อยใส่ลงกะละมัง ผสมกับน้ำอุ่นเล็กน้อย จากนั้นคั้นมะพร้าวกับน้ำอุ่นให้กะทิออกมาให้มากที่สุด อาจใช้เวลาพอสมควรตามกำลังของแต่ละคน

2. เมื่อได้กะทิ ทำการกรองด้วยผ้าขาวบางวางบนกระช่อนและพาชนะรองกะทิ ใช้แรงบีบเอาน้ำกะทิ

3. เตรียมกระทะเปิดไปอ่อน จากนั้นน้ำกะทิที่ได้ไปเคี้ยว ขณะที่เคี้ยวต้องค่อยดุอย่าให้กะทิไหม้ จะทำให้สีออกมาไม่สวย

4. การเคี้ยวจะใช้เวลาตั้ง 30 – 60 นาที ต้องใช้ความอดทนสูงพอสมควร

5. หลังจากนั้นกะทิจะเริ่มแตกมัน แยกระหว่างกากกะทิ กับน้ำมัน ระยะนี้ควรคนตลอดเวลา และควรดูให้กากพอเหลืองก็พอ จำได้น้ำมันมะพร้าวที่ใสและหอมมาก

6. เตรียมกระช่อนกรองระหว่างกากกะทิกับน้ำมันออกจากกัน จะได้น้ำมันมะพร้าวสกัดร้อนหอม ๆ ไว้ใช้

7. ตักน้ำมันเก็บใส่ขวด สามารถเก็บไว้ได้ทั้งในอุณหภูมิปกติ หรือในตู้เย็นก็ได้ แต่การใส่ตูเย็นจะทำให้น้ำมันเป็นไขตามธรรมชาติ

ต้องใช้ความอดทนสำหรับการสกัดน้ำมันพร้าวแบบร้อน แต่มีกลิ่นหอม เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ

ส่วนตัวแล้วผมว่าสกัดร้อนหอมกล่าวสกัดเย็น แต่สรรพคุณเหมือนกันนะครับ

เทคนิคเพิ่มเติม สำหรับการทำน้ำมันมะพร้าวให้ได้ปริมาณน้ำมันมาก ควรเลือกมะพร้าวที่งอกเพราะจะมีน้ำมันมากกว่ามะพร้าวปกติ

วิธีทำน้ำมันมะพร้าว

วิธีทำน้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น เป็นครีมทาผิว น้ำมันใส่ผม รับประทาน ทำยารักษาโรค เป็นต้น

ผู้คนในสมัยก่อนนิยมทำน้ำมันมะพร้าวไว้ใช้ในครัวเรือนเอง

ซึ่งมีกรรมวิธีที่ง่าย สามารถทำได้ทั้งการสกัดเย็น และสกัดร้อน

สำหรับความรู้เรื่องน้ำมันมะพร้าวปัจจุบันมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวมากขึ้น พบว่า มีประโยชน์ในการช่วยบำรุงผิว เป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ

ฉะนั้นผู้เขียนจึงนำวิธีการทำมะพร้าวไว้ใช้เองอย่างง่าย สามารถทำได้ที่บ้าน

โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน

ตอนที่ 1 การทำน้ำมันมะพร้าว สกัดเย็น

ตอนที่ 2 การทำน้ำมันมะพร้าว สกัดร้อน

การสกัดเย็น

ซึ่งการสกัดเย็นเกิดจากการแยกตัวของน้ำมันตามธรรมชาติด้วยการหมักตัวของน้ำมันเอง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำกันมานานแล้ว การสกัดเย็นได้น้ำมันมะพร้าวที่ใส เหมาะสำหรับการเก็บไว้นาน ๆ

การสกัดร้อน

เป็นการสกัดผ่านความร้อนด้วยการเคี้ยวจากกระทะเพื่อให้กะทิแตกมันเป็นน้ำมัน ซึ่งให้ความหอมมากกว่าการสกัดเย็น คนโบราณนิยมสกัดร้อนที่สุด เนื่องจากมีกลิ่นหอม

สำหรับการเลือกใช้ผู้สนใจสามารถเลือกตามความชื่นชอบได้จะเป็นการสกัดด้วยวิธีได้สามารถได้รับประโยชน์เหมือนกัน

ส่วนวิธีทำน้ำมันมะพร้าวทั้ง 2 แบบ มีขั้นตอนอธิบายสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

ลองศึกษาดูตามหัวข้อนะครับ

วิธีทำน้ำมันมะพร้าว ตอนการสกัดเย็น

วิธีทำน้ำมันมะพร้าว ตอนที่ 1 การสกัดเย็น


อุปกรณ์ที่ควรเตรียม คือ

มะพร้าวขูดประมาณ 1 กิโล หรือตามความต้องการ

เครื่องขูดมะพร้าว

กะละมังใส่มะพร้าวขูด

น้ำอุ่น

ผ้าขาวบาง

ถุงพลาสติก

กระช่อน

วิธีทำ

1. เตรียมมะพร้าวที่ขูดเรียบร้อยใส่ลงกะละมัง ผสมกับน้ำอุ่นเล็กน้อย จากนั้นคั้นมะพร้าวกับน้ำอุ่นให้กะทิออกมาให้มากที่สุด อาจใช้เวลาพอสมควรตามกำลังของแต่ละคน

2. เมื่อได้กะทิ ทำการกรองด้วยผ้าขาวบางวางบนกระช่อนและพาชนะรองกะทิ ใช้แรงบีบเอาน้ำกะทิ

3. เตรียมถุงหรือขวดสะอาดสำหรับสกัดน้ำมันมะพร้าว

4. เทกะทิลงไปในถุงหรือขวดตามสะดวก จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง กะทิจะเริ่มแยกชั้นเป็นน้ำที่เราใช้คั้นกับหัวกะทิที่เป็นน้ำมัน

5. พอกะทิเริ่มแยกชั้นโดยจะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ น้ำหมัก อยู่ในส่วนก้อนถุงหรือขวด ส่วนที่ 2 น้ำมันมะพร้าวที่สกัดเย็น กากกะทิ ใช้เวลา 4 -12 ชั่วโมง

6. เมื่อน้ำมันมะพร้าวเริ่มตกตะกอนจะเห็นน้ำมันแยกขั้นมากขึ้น โดยน้ำมันเปลี่ยนตำแหน่งมาอยู่ด้านบนสุด จากนั้นเราจะได้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น

7. ตักน้ำมันเก็บใส่ขวด สามารถเก็บไว้ได้ทั้งในอุณหภูมิปกติ หรือในตูเย็นก็ได้ แต่การใส่ตูเย็นจะทำให้น้ำมันเป็นไขตามธรรมชาติ

ง่ายๆ สำหรับการสกัดเย็นน้ำมันพร้าว เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ

เทคนิคเพิ่มเติม สำหรับการทำน้ำมันมะพร้าวให้ได้ปริมาณน้ำมันมาก ควรเลือกมะพร้าวที่งอกเพราะจะมีน้ำมันมากกว่ามะพร้าวปกติ

การสร้างรายได้เสริมจากอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด ตอนการจัดจำหน่ายและการแปรรูป

การสร้างรายได้เสริมจากอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด ตอนการจัดจำหน่ายและการแปรรูป

จิ้งหรีดเป็นแมลงที่มีประโยชน์ให้พลังงานต่อร่างกาย และยังสามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ชนิดอื่นได้ เช่น กบ ปลา เป็นต้น

อีกครั้งในสังคมไทยชนบทนิยมรับประทานแมลงหลายชนิดรวมไปถึงจิ้งหรีดซึ่งนิยมกันมาก เนื่องจากรสชาติที่อร่อย การเลี้ยงจิ้งหรีดจึงเป็นการสร้างรายได้เสริมที่ดีมากอีกอาชีพหนึ่ง

การจัดจำหน่ายจิ้งหรีด

ราคาของจิ้งหรีดขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการในท้องตลาดโดยปกติ ราคาจะที่กิโลกรัม ละ 100 - 200 บาท

การจัดจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง จะมีราคาอยู่ที่ 100 บาทขึ้น ไป หากขายราคาต่ำกว่านี้ขาดทุน

การจัดจำหน่ายเอง จะมีราคา 200 บาท หรือตามแต่ผู้เลี้ยงจะตั้งขึ้นเอง

การแปรรูป

การแปรรูปจิ้งหรีดช่วยเพิ่มราคาให้สูงขึ้นได้ และยังเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคได้เลือก โดยจิ้งหรีดส่วนใหญ่นิยมนำไปทอดขาย หรือจะทำเป็นน้ำพริกก็ได้

สำหรับผู้ต้องการความรู้เรื่องการแปรรูปจิ้งหรีดเป็นอาหารรูปแบบต่าง ๆ สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากหมวดอาหารได้ครับ

เขียน วันที่ 08/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู

การสร้างรายได้เสริมจากอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด ตอนการเพาะพันธุ์และการขยายพันธุ์จิ้งหรีด


การสร้างรายได้เสริมจากอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด ตอนการเพาะพันธุ์และการขยายพันธุ์จิ้งหรีด


การเพาะพันธุ์จิ้งหรีด

จิ้งหรีดเป็นแมลงอีกชนิดที่เลี้ยงง่ายเพาะพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น

จิ้งหรีดตัวเต็มวัยจะมีอายุตั้งแต่ 40 วันขึ้นไป หรืออาจสังเกตได้จากการส่งเสียงของจิ้งหรีด เนื่องจากจิ้งหรีดตัวเต็มไวมักจะส่งเสียงอยู่ตลอดเวลา

การเพาะพันธุ์จึงอาศัยธรรมชาติและผู้เลี้ยงเป็นตัวกระตุ้นให้จิ้งหรีดเกิดความพร้อม เช่น การสร้างสถานที่เลี้ยงที่ไม่แออัดจนเกินไป การให้ที่หลบซ้อนเวลาจิ้งหรีดต้องการพักผ่อน การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

การดูแลและให้อาหารจิ้งหรีด

อาหารของจิ้งหรีด คือ

1. อาหารสำเร็จรูปของอาหารไก่ ซึ่งอาหารเหล่านี้จะประกอบไปด้วยข้าวโพด ลำอ่อน เป็นวัตถุดิบหลัก

2. ใบกระเพรา

3. ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักตำลึง กระถิ่น เป็นต้น

4. หญ้า เช่น หญ้าแห้วหมู

5. ผลไม้

6. อื่น ๆ ตามสมควร

การให้อาหารจิ้งหรีดควรให้ทีละนิด ไม่ควรให้มากเกินไปจะทำให้อาหารเสียและเป็นสาเหตุของเชื้อราหรือไรในอาหารได้ โดยเฉพาะอาหารไก่สำหรับให้จิ้งหรีดควรเปลี่ยนทำความสะอาดถาดและเศษอาหารไก่เป็นประจำ เนื่องจากจิ้งหรีดมักจะถ่ายของเหลวลงไปในอาหาร ทำให้อาหารชื้นและเสียได้ง่าย

การให้น้ำจิ้งหรีด

จิ้งหรีดเป็นแมลงที่กินน้ำบ่อยมาก ควรให้น้ำเป็นประจำ วันละ 2 เวลาคือ ช่วงเช้ากับช่วงเย็น

การให้น้ำควรหาพาชนะที่มีทรายในก้นเพื่อให้น้ำดูดซึมลงไปในทราย และควรใส่น้ำพอชุ่ม ไม่ควรใส่น้ำมากเพราะจะทำให้น้ำเสียง่าย และจิ้งหรีดไม่สบาย

การขยายพันธุ์จิ้งหรีด

จิ้งหรีดตัวเต็มวัยอายุตั้งแต่ 40 วันขึ้นไป จะมีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์โดยธรรมชาติ ฉะนั้นผู้เลี้ยงควรเตรียมสถานที่วางไข่ คือหาพาชนะที่มีแกลบดำหรือถ่านแกลบมาไว้ในสถานที่เลี้ยง ซึ่งจิ้งหรีดแม่พันธุ์หนึ่งตัว สามารถวางไข่ได้ประมาณ 900 ถึง 1,000 ฟองขึ้นไป การวางไข่จะเริ่มวางไข่ไปเรื่อย ๆ จนกว่าไข่จะหมด

อีกประการพาชนะใส่ไข่ควรพ่นน้ำด้วยกระปุกน้ำให้ชุ่มทุกเย็น เพื่อรักษาความชื้นไม่ให้ไข่แห้ง

การเตรียมสถานที่ขยายพันธุ์

หลังจากที่สังเกตไข่ของจิ้งหรีดในพาชนะที่มีแกลบดำจะสังเกตเห็นเม็ดขาวใส่เล็ก ๆ มากมาย นั้นคือไข่จิ้งหรีด เราควรย้ายไปยังโรงเพาะพันธุ์ใหม่ เพื่อให้จิ้งหรีดเจริญเติบโตได้ไว ไม่ควรเลี้ยงปนกันหลายรุ่น เพราะจิ้งหรีดจะกินกันเอง

การเพาะพันธุ์และการขยายพันธุ์มีเทคนิคไม่ยุ่งยาก ผู้สนใจเลี้ยงสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์จริงแล้วนำมาพัฒนาการเลี้ยงเป็นแบบฉบับของตนเองได้ เพราะนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีเลี้ยงของผู้เขียน

การทำความสะอาดสถานที่เพาะลี้ยง

หลังจากที่นำจิ้งหรีดตัวเต็มวัยออกจำหน่วยแล้ว ควรทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากในสถานที่เลี้ยงจะมีเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุให้จิ้งหรีดรุ่นต่อไปไม่สมบูรณ์จึงควรเปลี่ยนแกลบหยาบที่นำมารองพื้นบ่อใหม่แล้วทำการพึ่งไว้ประมาณ 2 – 3 วัน เพื่อให้บ่อแห้งไม่ชื้น อีกทั้งถาดอาหารควรนำไปล้างแล้วจัดเก็บเพื่อเตรียมใช้ให้เรียบร้อย พาชนะใส่ทรายสำหรับให้น้ำควรเปลี่ยนทรายใหม่เป็นประจำ

ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากขายจิ้งหรีดแต่ละรุ่นออกไป

เขียน วันที่ 08/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู

การสร้างรายได้เสริมจากอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด ตอนการเตรียมจิ้งหรีดสำหรับเลี้ยง


การสร้างรายได้เสริมจากอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด ตอนการเตรียมจิ้งหรีดสำหรับเลี้ยง

การเตรียมจิ้งหรีดแบบประหยัดของผม มีวิธีที่แตกต่างจากคนอื่นๆ

เนื่องจากหากเราไปซื้อมาเลี้ยงโดยตรงจากฟาร์มเลี้ยงมักจะขายให้ในราคาแพง

ควรซื้อตามตลาดสดที่ขายจิ้งหรีดสำหรับบริโภคจะได้ราคาที่ซื้อมารับประทานไม่แพง แต่ซื้อตัวยังมีชีวิตอยู่

หลังจากได้พ่อแม่พันธุ์มาแล้ว ควรทำจิ้งหรีดหายเครียดด้วยการปล่อยให้ซ้อนตัวในบ่อเลี้ยงของเราอย่างรวดเร็ว

หรือวิธีการซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จากฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด

วิธีนี้เหมาะสำหรับการเลี้ยงในระดับอาชีพ ควรเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เช่นกล่องโฟมสำหรับบรรจุจิ้งหรีดขณะขนย้าย เป็นต้น

หรือวิธีการซื้อไข่มาเพาะพันธุ์ วิธีนี้ทำให้เราสามารถเลี้ยงโดยมีกำไรได้ในระยะเวลาอันสั้น และอาจแบ่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไว้สำหรับการขยายพันธุ์ต่อไป

การเลี้ยงจิ้งหรีดและการเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไม่มีความยุ่งยาก เพราะตามธรรมชาติแล้วจิ้งหรีดตัวเต็มวัยมักจะส่งสัญญาณตามธรรมชาติคือส่งเสียงร้องดังตลอดเวลา อีกทั้งหากใกล้ถึงระยะเวลาผสมพันธุ์จิ้งหรีดจะทำตัวสั้นเคลื่อนไหวไปมาเป็นจังหวะ นั้นคือความพร้อมในการขยายพันธุ์จิ้งหรีด


เขียน วันที่ 08/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู


การสร้างรายได้เสริมจากอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด ตอนการเตรียมอุปกรณ์การเลี้ยง


การสร้างรายได้เสริมจากอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด ตอนการเตรียมอุปกรณ์การเลี้ยง


การเลี้ยงจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงลาย มีวิธีการง่ายมาก ๆ

สิ่งที่ควรเตรียมเป็นอันดับแรก ๆ คือสถานที่

ฉะนั้นผู้เขียนจะแจงรายละเอียดออกเป็นรายข้อเพื่อให้ผู้สนใจสามารถหาซื้อมาเตรียมไว้ก่อนเลี้ยง ดังนี้

1. สถานที่เลี้ยง

2. กรงเลี้ยง หรือถังซีเมนต์ทรงกลม (ตามภาพประกอบ)

3. กล่องกระดาษ หรือถาดใส่ไข่ที่ทำจากกระดาษ

4. กระปุกฉีดน้ำ

5. ขันพลาสติก

6. ทราย

7. แกลบ

8. แกลบดำ หรือถ่านแกลบ

9. ตาข่ายคุ้ม

10. เทปกาว

11. ยางในรถจักรยานยนต์

12. ถาดใส่อาหาร

สถานที่เลี้ยง

ควรเป็นเป็นสถานที่สงบเงียบและปลอดภัยจากศัตรูของจิ้งหรีด อันได้แก่ จิ้งจก ตุ๊กแก ไก่ นก และมด เป็นต้น ควรเลี้ยงในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพราะจะทำให้จิ้งหรีดโตไว และไม่ควรจัดสถานที่ให้มีแสงมากเกินไป ควรให้มีแสงเขามาประมาณ 30 -40 เปอร์เซ็นต์ก็พอ

กรงเลี้ยง หรือถังซีเมนต์ทรงกลม

สามารถเลือกใช้ตามความสะดวก เพื่อให้เหมาะสำหรับพื้นที่ของบ้านท่าน ส่วนตัวแล้วผู้เขียนใช้ถังซีเมนต์สะดวกและดูแลได้ง่ายกว่าอุปกรณ์อื่น (ควรมีความแข็งแรง ไม่ควรใช้กล่องกระดาษเพราะจิ้งหรีดชอบกัดกินกระดาษ)

กล่องกระดาษ หรือถาดใส่ไข่ที่ทำจากกระดาษ

สามารถหาได้ตามสะดวก แต่ควรเลือกกระดาษที่มีความแข็งแรง มีช่องให้จิ้งหรีดซ่อนตัวด้วย ส่วนการใช้กระดาษถาดไข่เป็นอุปกรณ์การเลี้ยงอีกแบบที่ทนทานกว่ากระดาษธรรมดา ผู้เขียนจึงนิยมนำมาใช้เป็นวัสดุหลักในการเลี้ยง

กระปุกฉีดน้ำ

ใช้สำหรับฉีดน้ำเพิ่มในถาดที่ใส่ทราย เวลาจิ้งหรีดกินน้ำ

ขันพลาสติก

เตรียมไว้สำหรับนำแกลบดำมาเตรียมให้แม่พันธุ์ได้ว่างไข่

ทราย

ใช้สำหรับใส่น้ำให้จิ้งหรีดกินน้ำ และป้องกันไม่ให้จิ้งหรีดจมน้ำ

แกลบหรือเปลือกข้าวที่หยาบ

ใช้ปูพื้นสำหรับเป็นที่อยู่ให้จิ้งหรีด

แกลบดำ หรือถ่านแกลบ

ใช้ใส่ในขันพลาสติกเพื่อเป็นแหล่งวางไข่

ตาข่ายคุม

ใช้คุมปากบ่อซีเมนต์ ไม่ให้ศัตรูจิ้งหรีดเข้าได้

เทปกาว

ใช้ติดรอบปากบ่อไม่ให้จิ้งหรีดขึ้นมาได้

ยางในรถจักรยานยนต์

ใช้รัดปากบ่อเพื่อดึงตาข่ายให้ตึง

ถาดใส่อาหาร

ใช้สำหรับใส่อาหารจิ้งหรีด


เขียน วันที่ 08/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู