วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สาขาวิชาจิตวิทยาโรงเรียน


สาขาวิชาจิตวิทยาโรงเรียน

รายละเอียดของสาขาวิชา
 สาขาวิชาจิตวิทยาโรงเรียน เป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวพฤติกรรมของมนุษย์  คือ ด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา  ซึ่งเน้นนำความรู้ทางจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน โดยมีขอบข่าย 3 ด้าน  คือ  แนะแนวการศึกษา แนะแนวอาชีพ  และแนะแนวส่วนตัวและสังคม  ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับจิตวิทยาแนะแนว  แต่อาจเน้นการให้คำปรึกษาเป็นหลัก การใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาต่าง ๆ และภาระต่าง ๆ ในโรงเรียนที่นักจิตวิทยาในโรงเรียนเกี่ยวข้อง  

คุณสมบัติของศึกษาสาขาวิชา
1. ชื่นชอบการจัดกิจกรรมต่างๆ
2.  สนใจเรียนรู้ในสิ่งใหม่
3. ชอบการศึกษาค้นคว้า
4.  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
5.  ไม่เป็นผู้วิกลจริต  หรือสติไม่สมประกอบ
6.  จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาต้นปลายหรือเทียบเท่า
7.  อื่น ๆ  ตามสถานศึกษากำหนด

แนวทางการศึกษาที่อาจเกี่ยวข้อง
1.  ศึกษาประวัติความเป็นมาของทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา
2.  ศึกษาทฤษฎีทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น  จิตวิทยาทั่วไป  จิตวิทยาพัฒนาการ  เป็นต้น
3.  ศึกษาการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา และการวินิจฉัย
4.  ศึกษาความรู้พื้นฐานด้านสถิติและการวิจัย
5.  ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนวในโรงเรียน
6.  ศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ
7. ศึกษากรให้คำปรึกษาในโรงเรียน
8. ศึกษาหลักสูตรและการสอน  และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไทยและต่างประเทศ
9. อื่น ๆ

สถานศึกษาที่เปิดสอนสาขาที่เกี่ยวข้อง
1. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
3. คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4. คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
5. อื่น ๆ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
1.  หนังสือ
2.  สถาบันต่าง ๆ
3.  คู่มือหลักสูตรต่าง ๆ
4.  มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
5.  ห้องแนะแนวประจำโรงเรียนต่าง ๆ
6.  วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
7.  ห้องสมุด
8.  อินเตอร์เน็ต
9.  เว็บ newnaew.net และnaenaew.blogspot.com
10.  อื่น ๆ

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
สาขาวิชาจิตวิทยาโรงเรียนเป็นสาขาที่ผลิตบุคลากร เพื่อนำความรู้ทางด้านจิตวิทยาโรงเรียนไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง
ช่วยให้ผู้เรียนได้ค้นหาสิ่งที่ตนเองชอบได้ และใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กในโรงเรียน หรือบคลากรในโรงเรียน เป็นต้น

เขียน  วันที่ 16/05/2555
ผู้เขียน  พยัคฆ์กูรู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น