ข้อคิดที่ได้จากงานสัมมนา
สัมมนาในวาระครบ 40 ปี สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย หัวข้อ
“อัตลักษณ์ และสีสันท้องถิ่นในงานเขียนของนักเขียนภาคเหนือ”
เส้นทางสู่สากล บนสายธารวรรณกรรมท้องถิ่น
จัดโดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ร่วมกับมหาวิทยาลัยพายัพ
โดยการสนับสนุนของบริษัทซีพีออลล์
และแอร์เอเชีย วัน ศุกร์ที่ 6
ก.ค. 2555
โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆ
เช่น ศ.ดร. ประคองนิมมานเหมินท์
คุณมาลา คำจันทร์
รศ. สกุล บุณยทัต
อาจารย์อัคคภาค เล้าจินตนาศรี
คุณกนกวลี พจนปกรณ์
นายกสมาคมนักเขียน
คุณเจน สงสมพันธุ์
ผศ. ลมูล จันทน์หอม
รศ. สุพรรณ ทองคล้อย
ผศ. วิลักษณ์ ศรีป่าซาง
คุณพินิจ นิลรัตน์
คุณนรีภพ สวัสดิรักษ์
จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมฟังการสัมมนาครั้งนี้ทำให้ได้รับแง่คิดดี
ๆ หลายเรื่องเกี่ยวกับวรรณกรรมล้านนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมวรรณกรรมล้านนาเป็นวรรณกรรมที่รับใช้พุทธศาสนา ถ่ายทอดผ่านการบันทึกด้วยอักษรล้านนา โดยในยุคสมัยก่อนนั้นการคัดลอกวรรณกรรมล้านนาถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง จึงมักนิยมคัดลอกวรรณกรรมเพื่อถวายให้วัด
และการถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้ศาสนาเป็นสื่อกลางในการรับรู้เรื่องราว
เนื่องจากคนในยุคก่อนมีผู้รู้หนังสือน้อย
การเทศนาธรรมในวันสำคัญทางพุทธศาสนาจึงเป็นการได้รู้ได้ฟังเรื่องราวซึ่งมีพระภิกษุเป็นผู้สวดบรรยายเรื่องราวตามวรรณกรรม
ทำให้ผู้คนเข้าวัดฟังธรรมมีความชื่นชอบการฟังธรรมตามเรื่องราวที่เทศนา เช่น ธรรมมหาชาติเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาติที่
10 ของพระพุทธเจ้า เป็นต้น
อีกทั้งวรรณกรรมล้านนาพื้นบ้านในลักษณะของค่าว จ๊อย ซอ วรรณกรรมมุขปาฐะ ที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนา บางครั้งมีลักษณะสองแง่สองง่าม
นับว่าล้านนามีเอกลักษณ์ทางด้านวรรณกรรมเฉพาะหลายอย่างที่ควรค่าแก่การถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือให้ผู้คนจากต่างถิ่นได้รับรู้
เรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งนักเขียนที่เป็นคนเหนือรุ่นใหม่ยังมีน้อย การร่วมกันสืบสานผ่านการเขียนวรรณกรรมเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนในรูปแบบเรื่องราวผูกโยงกับวัฒนธรรมประเพณีนับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะร่วมกันถ่ายทอดให้สาธารณะชนได้รับรู้เกี่ยวกับความเป็นล้านนาที่ผู้คนขาดความสนใจละเลย
หรือยังไม่ได้บันทึกไว้
แนวคิดดี ๆ เกี่ยวกับการเขียนวรรณกรรมจากงานสัมมนา
*การเขียนแบบอ่านจากบันทึก
ใบลาน หรือเอกสาร แล้วนำมาเล่าใหม่
*การเขียนจากเรื่องราวตามท้องถิ่นที่ตนอาศัย
*การเขียนจากคำบอกเล่า
ของคนรุ่นก่อน
*เขียนจากประสบการณ์
องค์ประกอบที่สำคัญของวรรณกรรมสากล
*โครงสร้างสังคม
*ความเชื่อ ความศรัทธา
*การดำเนินชีวิต
งานเขียนที่ดี
สื่ออารมณ์ได้ดี
สะเทือนความรู้สึก
กระตุ้นความคิด
ประเทืองปัญญา
วันที่เขียน
09/07/2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น