การจัดเส้นขอบของกระดาษจำเป็นอย่างมากในการพิมพ์เอกสารรายงานวิชาการต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบกฎเกณฑ์ที่กำหนดของแต่ละหน่วยงานอีกที แต่ส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน
การกำหนดเส้นขอบต่างๆ เป็นไปเพื่อความสวยงามและความเป็นสากลที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ โดยเฉพาะการพิมพ์รายงานการศึกษาเอกเทศ การค้นคว้าแบบอิสระ การทำภาคนิพนธ์ การวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ การทำดุษฎีนิพนธ์ ล้วนแล้วแต่มีรูปแบบที่เหมือนกัน ซึ่งอยู่กับสถาบันนั้น ๆ กำหนดขึ้นตามคู่มือการจัดพิมพ์รายงาน
เหตุผลของการจัดกระดาษและขอบกระดาษอันเนื่องมากจากความเป็นระเบียบเรียบร้อยของงานวิชาการเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก หากพิมพ์แล้วจัดการพิมพ์ไม่มีรูปแบบ อาจทำให้เวลาเข้าเล่ม ตัวหนังสืออยู่ชิดมุมด้านในของเอกสารมากเกินไป คนอ่านก็อ่านไม่ออกต้องเดา คงไม่ดีแน่ถ้าเอกสารผลงานวิชาการขาดความสมบูรณ์อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด เพื่อเป็นการใช้มาตรฐานเดียวกันทุก ๆ เล่ม ผู้เขียนรายงานจำเป็นต้องจัดเอกสารให้เป็น รู้จักหลักของการจัดพิมพ์เอกสารพอสมควร
สำหรับการจัดเส้นขอบ
ใช้หน่วยเป็นนิ้ว เป็นเมตร เป็นเซนติเมตรก็แล้วแต่ความสะดวกและความถนัดของแต่ละคน
ส่วนตัวแล้วผู้เขียนชื่นชอบการกำหนดหน่วยวัดเส้นขอบเป็นนิ้วมากกว่า
การกำหนดเส้น กำหนดขอบต่างๆ ที่ควรรู้
การกำหนดขนาดของมุมกระดาษโดยพื้นฐานเป็นที่รู้กันว่ามี 4 มุม
มุมบน มุมล่าง มุมซ้าย มุมขวา มุมทุกมุมต้องผ่านการกำหนดขอบเขตที่ต้องการเพื่อให้ในงานพิมพ์รายงานวิชาการ
จึงควรกำหนดดังนี้
มุมบน นิยมกำหนดขนาดที่ 1 นิ้วครึ่ง
มุมล่าง นิยมกำหนดขนาดที่ 1 นิ้ว
มุมซ้าย นิยมกำหนดขนาดที่ 1 นิ้วครึ่ง
มุมขาว นิยมกำหนดขนาดที่ 1 นิ้ว
ท่านสามารถกำหนดได้ตามนี้
แต่มีเทคนิคเพิ่มเติมเล็กน้อย
คือ หน้าบท หน้าแรกของแต่ละบทมีข้อกำหนดพิเศษ คือ ต้องกำหนดที่มุมบนที่ 2 นิ้ว หน้าต่อไปถึงจะเป็น 1 นิ้วครึ่ง จำง่ายๆ คือ หน้า บทนำ บทที่ 2 บทที่ 3 บทที่ 4 บทที่ 5 ใช้มุมบน 2 นิ้ว
ส่วนอื่นๆ ใช้ตามมาตรฐานที่ให้ไว้ในข้างต้น
เขียน วันที่ 14/05/2554
ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู
ที่มาเนื้อหา
www.newnaew.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น