วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รู้จักกับองค์ประกอบส่วนอ้างอิงของการทำรายงานต่างๆ

รู้จักกับองค์ประกอบส่วนอ้างอิง ของการทำรายงานต่างๆ

การเขียนอ้างอิงเป็นส่วนสำคัญในการทำรายงานให้มีความถูกต้องตามหลักการที่กำหนดไว้

ส่วนอ้างอิง ได้แก่

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา

การเขียนเชิงอรรถ

การเขียนอ้างอิง

การเขียนบรรณานุกรม

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา เป็นการให้เกียรติเจ้าของบทความเดิมและเป็นการเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา โดยนำมายกไว้ในรายงานที่จัดทำขึ้น

ยกตัวอย่างที่ 1การเขียนอ้างอิงเนื้อหาส่วนหัว เช่น

คำก้อน สอนดี (2552 : 14) ได้กล่าวถึง การสอนที่ดี ควรมี............

คำก้อน สอนดี คือ ชื่อผู้แต่ง

2552 คือ ปี พ.ศ. ที่พิมพ์

14 คือ หน้า ของบทความที่นำมาอ้างอิง

จากตัวอย่างที่ 2 การเขียนอ้างอิงเนื้อหาส่วนท้าย เช่น

การสอนที่ดีควรมี............................

.......................................(คำก้อน สอนดี, 2552 : 14)

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหายังมีจุดเพิ่มเติมอีกนิด เช่น

ถ้าหากมีผู้แต่ง 2 คน จะใช้คำว่าและ

เช่น คำก้อน สอนดี และสงสัย สอนเก่ง (2552 : 14)

ถ้าหากมีผู้แต่งเกิน 2 ขึ้นไป นิยมใช้ผู้แต่งคนที่ 1 เป็นชื่อหลักตามด้วยคณะ

เช่น คำก้อน สอนดี และคณะ (2552 : 14)

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาสามารถหาอ่านเพิ่มเติมตามรูปแบบที่กำหนดของแต่ละสถาบัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่เหมือนกัน

การเขียนอ้างอิงทุกครั้งควรใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตลอดทั้งเล่ม

การเขียนเชิงอรรถ

เป็นการเขียนอ้างอิงส่วนล่างสุดของกระดาษ ซึ่งไม่นิยมค่อยได้รับความนิยม และถูกลดบทบาทลงไป เนื่องจากกินเนื้อที่ของกระดาษมาก จึงอาจทำให้การเขียนเชิงอรรถในอนาคตอาจหมดความสำคัญ

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากคู่มือการเขียนรายงานต่าง ๆ หรือในหนังสือวิชาการต่างๆ ปีพ.ศ. เก่า ๆ

เหตุผลที่ผู้เขียนไม่นำมาเขียนเป็นตัวอย่างเนื่องจากต้องการให้ผู้สนใจสามารถนำความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ไปประกอบการศึกษา ซึ่งการเขียนใช้อรรถในรายงานปัจจุบันไม่นิยมใช้ เพื่อป้องกันการสับสนจึงไม่ขอ อธิบายรายละเอียด หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถส่ง e – mail ได้ที่เว็บมาสเตอร์ newnaew@hotmail.co.th

การเขียนอ้างอิง

การเขียนอ้างอิง เป็นการนำรายชื่อของบุคคลหรือตำราเอกสารที่ถูกอ้างถึงในรายงาน 5 บท มาเรียบเรียงไว้ในส่วนท้ายเพื่อให้ผู้สนใจสามารถสืบค้นเพิ่มเติมจากรายการหนังสือ หรือเอกสารนั้นได้ ส่วนอ้างอิงกับบรรณานุกรม ต่างกันที่ การเขียนอ้างอิงใช้เฉพาะรายชื่อเอกสารหรือบุคคลที่กล่าวถึงในรายงาน 5 บทเท่านั้น ส่วนบรรณานุกรม สามารถเขียนรายชื่อเอกสารที่ไม่ถูกกล่าวถึงในรายงาน ซึ่งเราได้ศึกษาประกอบนำมาไว้ในบรรณานุกรมได้ แต่ไม่ควรใส่รายการมากเกินความเป็นจริง

การเขียนบรรณานุกรม

การเขียนบรรณานุกรม เป็นการนำรายชื่อหนังสือ หรือเอกสารที่นำมาอ้างอิง และนำมาประกอบการศึกษา เขียนเป็นรายการไว้ในส่วนของบรรณานุกรม เพื่อให้ผู้สนใจสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้ โดยเน้นรายการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาในรายงาน 5 บท

ซึ่งการเขียนอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ควรศึกษาระเบียบการพิมพ์ของแต่ละแห่งเนื่องจากมีความแตกต่างกันในบางส่วน จึงควรศึกษาเพิ่มเติมจากหลาย ๆ แหล่ง

เขียน วันที่ 14/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู


อ้างอิงข้อมูลจาก

newnaew.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น