วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความรู้พื้นฐานเรื่องการกำหนดขนาด หัวเรื่อง ขนาดตัวอักษร รูปแบบต่างๆ ของการทำรายงาน

ความรู้พื้นฐานเรื่องการกำหนดขนาดหัวเรื่อง ขนาดอักษร รูปแบบตัวอักษรต่าง ๆ

ความพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับงานพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ที่ขาดไม่ได้อีกหนึ่งเรื่อง คือ ขนาดหัวเรื่อง ขนาดอักษร รูปแบบตัวอักษรต่าง ๆ โดยเฉพาะงานพิมพ์วิชาการ ต้องมีรูปแบบที่เป็นสากลนิยมเท่านั้น

หัวเรื่อง

หัวเรื่อง อย่างเช่น บท แต่ละบท คือหัวประจำบท นิยมกำหนดขนาด เท่ากับ 18 หรือ 20 ตามหน่วยงานกำหนด แต่โดยส่วนใหญ่นิยมกำหนดขนาดตัวอักษรที่ 18 ตัวหนา

ส่วนประกอบของหัวเรื่องประจำบทต่าง ๆ

เช่น บทนำ ประกอบไปด้วยหัวเรื่อง คือ

ความเป็นและความสำคัญของปัญหา

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

สมมติฐานการศึกษา

ขอบเขตของการศึกษา

ข้อตกลงเบื้องต้น

นิยามศัพท์เฉพาะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษา

หัวเรื่องที่กล่าวมา ส่วนใหญ่นิยมกำหนดขนาดตัวอักษรที่ 16 ตัวหนา

รูปแบบตัวอักษร

สำหรับรูปแบบตัวอักษรในการพิมพ์ กำหนดให้ใช้ตัวอักษรเป็น Angsana เป็นรูปแบบอักษรที่ใช้กับภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษและสูตรต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบรายงานควรดูจากระเบียบการพิมพ์ที่หน่วยงานนั้น ๆ กำหนดขึ้น เนื่องจากในบางหน่วยงานอาจมีการกำหนดที่แตกต่างกันในบางส่วนจึงควรศึกษาจากคู่มือให้มาก เพื่อประโยชน์ในการจัดทำรายงานที่สมบูรณ์ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

เขียน วันที่ 14/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู


อ้างอิงข้อมูลจาก

newnaew.net


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น