วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความรู้พื้นฐานเรื่องการวรรคตอนต่างๆ

ความรู้พื้นฐานเรื่องการวรรคตอนต่าง ๆ

การวรรคตอนต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ควรศึกษาให้ละเอียดเพื่อความถูกต้อง และสวยงามเป็นไปตามหลักวิชาการ

การวรรคตอน ส่วนใหญ่ของการทำรายงานต่างๆ ใช้มาตรฐานเดียวกัน แต่ในปัจจุบันมีความสะดวกมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับในการพิมพ์เอกสารคือใช้รูปแบบที่กำหนดเดิม กับรูปแบบที่กำหนดด้วยโปรแกรมอัตโนมัติสากลนิยม

การเว้นวรรคตอน

การเว้นวรรคตอนเป็นการสร้างความสวยงามของการพิมพ์เอกสารให้อ่านง่าย โดยการพิมพ์และการเขียนในสมัยก่อนไม่นิยมวรรคตอน เขียนยาวไปจนจบเนื้อหาทำให้อ่านยาก ผู้อ่านเหนื่อยต่อการอ่านเนื้อหา การกำหนดวรรคตอนจึงเกิดขึ้น เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่แตกต่างจากภาษาอื่นๆ อย่างเช่น ภาษาอังกฤษใช้การ . เพื่อแบ่งประโยค ภาษาไทยจึงมีการกำหนดวรรคตอนให้เป็นสากลนิยมมากขึ้นทำให้อ่านง่าย ผู้อ่านได้มีช่วงพักในการอ่าน ด้วยเหตุดังกล่าวการวรรคตอนจึงมีความสำคัญไม่น้อย

การเว้นช่องไฟ คือการเว้นวรรค นิยมกำหนดให้ เว้นวรรค 2 เคาะ หรือ 1 เคาะตามเห็นสมควร

แต่โดยส่วนใหญ่นิยม 2 เคาะมากกว่า เนื่องจากไม่ทำให้อักษรติดกันจนเกินไป การเว้น 1 เคาะยังทำให้อักษรดูชิดกันอยู่

สัญลักษณ์ที่ใช้แทนการเคาะเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ

1 เคาะ แทนด้วย /

2 เคาะ แทนด้วย //

ตัวอย่าง เช่น

การอ่านเป็นกระบวนการฝึกฝนทางความคิดให้เกิดความคิดแปลกใหม่//เพื่อเป็นการฝึกฝนการอ่านที่ดีเราควรอ่านอย่างน้อยวันละ/1//ครั้ง

ฉันนั้นการจัดช่องไฟ ควรดูตามความเหมาะสม เนื่องจากหากต้องการจัดอักษรแบบกระจาย การใช้การเคาะจะไม่ได้ผล ควรพิจารณาตามความสวยงามจะดีที่สุด

การขึ้นย่อหน้าใหม่

การย่อหน้าและการขึ้นย่อหน้าใหม่มีความละเอียดถี่ถ้วนอย่างมาก เพื่อให้รายงานเป็นสากลนิยม การขึ้นย่อหน้าจึงมีด้วยกัน 2 รูปแบบที่ใช้กันมากที่สุด คือ

การขึ้นย่อหน้าด้วยการเว้น 8 ช่วงตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 9 เป็นมาตรฐานเดิมที่รายงานส่วนใหญ่ในบ้านเราใช้กัน

การขึ้นย่อหน้าด้วยรูปแบบอัตโนมัติจากโปรแกรมพิมพ์เอกสาร เป็นมาตรฐานที่สากลนิยมใช้กัน เนื่องจากเป็นวัฒนธรรมโดยอัตโนมัติ เพราะส่วนใหญ่คุ้นเคยการการพิมพ์งานและการย่อหน้าที่โปรแกรมกำหนดขึ้น

ด้วยการกด Tab ตรงแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์

ส่วนอื่นๆ ที่ควรศึกษาเพิ่มเติม คือ

การกำหนดหัวข้อย่อยและการย่อหน้าตัวข้อย่อย เช่น

1. กกกกกกกกกก

1.1 กกกกกกกกกก

1.2 กกกกกกกกกก

หรือ

กกกกกกกกกกกกก

กกกกกกกกกกกกก

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากระเบียบการพิมพ์ของหน่วยงานต่างๆ หรือพิจารณาตามความเหมาะสม

เขียน วันที่ 14/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู


อ้างอิงข้อมูลจาก

newnaew.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น