สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
นับวันจะยิ่งมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น โดยเฉพาะคนไทยเข้าถึงการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีสื่อสารที่ทันสมัยมากขึ้นทุกวัน
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
อินเตอร์เน็ต มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
จึงทำให้ผู้ที่จบสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจสามารถเติบโตได้หลากหลายแนวทาง
แล้วแต่แนวคิดและความสามารถ ความถนัด ความชอบของแต่ละคนที่จะสรรหาช่องทางการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ เช่น
การขายของผ่านอินเตอร์เน็ต
การเขียนโปรแกรม เขียนโปรแกรมสคริปต์ขาย
การสร้างหน้าเพจขาย และอื่น ๆ
อีกมากมายมหาศาลในวงการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยียุคใหม่ การเรียนสาขาคอมพิวเตอร์จึงมีโอกาสทำงาน
สร้างรายได้ หรือเป็นเจ้าของกิจการได้ง่าย
รายละเอียดของสาขาวิชา
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คือ สาขาที่เกี่ยวของกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ผนวกกับธุรกิจ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิต การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ การใช้โปรแกรมกราฟฟิกเพื่อการใช้งาน การเรียนรู้และทำความรู้จักกับภาษาโปรแกรมต่าง
ๆ เช่น * ภาษา C * ภาษา HTML
* ภาษา SML * ภาษา Java * ภาษา
JavaScript * ภาษา PHP *
ภาษา Basic และอื่น
ๆ
ตลอดจนให้ความสำคัญกับเรื่อง ธุรกิจ
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ การบริหารธุรกิจ การจัดการ
บัญชี
และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
จึงให้ความสำคัญทั้งความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และธุรกิจไปพร้อมกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้เรียน
เมื่อสำเร็จหลักสูตรตามที่กำหนด สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ หรือเลือกประกอบอาชีพอิสระตามสายงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจคอมพิวเตอร์สำหรับเลี้ยงชีพ
และเจริญเติบโตในโลกของอาชีพได้อย่างมั่นคง
คุณสมบัติของศึกษาสาขาวิชา
1. เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
2. เป็นผู้ชื่นชอบกิจกรรมการเรียนรู้แบบฝึกปฏิบัติและทฤษฎี
3. เป็นผู้สนใจงานอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
4.
เป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ
5. เป็นผู้มีวินัยในการทำงาน
6. ชื่นชอบเทคโนโลยีและระบบคอมพิวเตอร์
7.
มีความสามารถขั้นพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์
8. มีความสามารถพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ
9. กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่
ๆ อยู่ตลอดเวลา
10.
ชื่นชอบการศึกษาค้นคว้าและทดลอง
11. มีความพยายามในการเรียนรู้และแก้ปัญหา
12. อื่นๆ
แนวทางการศึกษาในระดับสูง
1. ปริญญาตรี/ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ / สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
/ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ / สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสายอื่น ๆ
ที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไปสมัครเรียน
2. ปริญญาโท
3. ปริญญาเอก
ลักษณะของงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ
2. โปรแกรมเมอร์
3. เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์
4. เจ้าหน้าที่ควบคุม
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. อีคอมเมริซ์
7. เจ้าหน้าที่วางระบบคอมพิวเตอร์
8. เว็บมาสเตอร์
9. อื่น ๆ
แนวทางการประกอบอาชีพ
1. เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์
2. พนักงานรัฐและเอกชน
3. เจ้าของกิจการร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
4.
เจ้าของกิจการร้านขายคอมพิวเตอร์
5.
เจ้าของกิจการร้านคอมพิวเตอร์
6. เจ้าของกิจการออนไลน์
7. ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์
8. เจ้าของเว็บไซต์
9. โปรแกรมเมอร์
10. เว็บมาสเตอร์
11. อื่น ๆ
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
1. วิทยาลัยเทคนิค
2. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน
3. วิทยาลัยสารพัดช่าง
4. มหาวิทยาลัยราชมงคลต่าง ๆ
5. มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
6.
ห้องแนะแนวประจำโรงเรียนต่าง ๆ
7. วิทยาลัยสายอาชีพเอกชน
8. ห้องสมุด
9. อินเตอร์เน็ต
10. เว็บ newnaew.net และnaenaew.blogspot.com
11. อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากเว็บมาสเตอร์
สำหรับอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นสาขาที่งานรองรับในยุคปัจจุบันมากที่สุด
และอนาคตยังมีความต้องการอยู่มาก
เนื่องด้วยในยุคปัจจุบันธุรกิจต่าง ๆ ได้เข้าสู่การแข่งขันบนอินเตอร์เน็ตแถบทุกชนิด
ขายทุกอย่างที่ขายได้ทั้งสัตว์เลี้ยง
สิ่งของเครื่องใช้ อาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค
ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ
การค้าขายบนโลกออนไลน์จึงทำให้ธุรกิจออนไลน์มีความสะดวกรวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าตามความต้องการ
สามารถเปรียบเทียบราคาได้สะดวก เลือกสิ่งที่ดีที่สุดตามความต้องการ อีกทั้งธุรกิจเว็บไซต์ยังมีหลากหลายแขนง เช่น สินค้าที่จับต้องไม่ได้สามารถสร้างสรรค์ให้เป็นเงินได้
ได้แก่
เว็บความรู้ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากค่าโฆษณาสินค้าต่าง ๆ ภายในเว็บ
ผลิตภัณฑ์ของเว็บประเภทความรู้ คือ
บทความ สาระความรู้ต่าง ๆ
จึงนับว่าการเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจสามารถแตกสายงานได้หลายประเภททั้งงานเป็นพนักงาน ลูกจ้าง
สู่การเป็นผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
ฉะนั้นน้อง ๆ ที่สนใจ ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ
เขียน วันที่ 22/01/2557
ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น