วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความคาดหวังที่มีต่อการแนะแนว

ความคาดหวังที่มีต่อการแนะแนว

งานแนะแนวโดยทั่วไปตามความเข้าใจนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจส่วนใหญ่ มีความคาดหวังและความต้องการงานแนะแนวหลายข้อด้วยกัน

จากการสำรวจความคาดหวังของนักเรียนที่มีต่องานแนะแนว ของผมในช่วงระหว่างปฏิบัติหน้าที่นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพแนะแนวในโรงเรียนแห่งหนึ่ง

พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและมีความต้องการแนะแนวอย่างมาก

ซึ่งผมได้สรุปไว้ ณ ที่นี้ เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้สนใจงานแนะแนว ท่านสามารถนำไปประยุกต์ได้ตามความต้องการ

ก่อนอื่นข้อมูลดังกล่าว เก็บมาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่ผมฝึกประสบการณ์อาจมีการคลาดเคลื่อนไปบ้าง

เนื่องจากวันเวลาที่เปลี่ยนไป กลุ่มคนเปลี่ยนไป จึงควรสำรวจเพื่อเติมอย่างสม่ำเสมอ นะครับ

ความคาดหวังที่มีต่อการแนะแนวตามความต้องการของคนส่วนใหญ่ สามารถสรุปได้ดังนี้

1. ต้องการการแนะแนวการศึกษาต่อ

2. ต้องการการแนะแนวอาชีพ

3. ต้องการการแนะแนวความรู้เรื่องมหาวิทยาลัยต่างๆ

4. ต้องการการแนะแนวเรื่องคณะต่าง ๆ และสาขาวิชาต่าง ๆ

5. ต้องการคำปรึกษา และวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ

6. ต้องการทดสอบความถนัด และค้นหาตนเองด้วยวิธีการต่าง ๆ

7. ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมที่สนุกสนาน

8. ต้องการให้เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเลือกจัดกิจกรรม

9. ต้องการแนะแนววิธีดำเนินชีวิต

10. แนะแนวการวางแผนชีวิต

11. ต้องการกิจกรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

12. ต้องการให้แนะแนววิธีการพัฒนาศักยภาพตนเอง

13. ต้องการให้ฝึกความกล้าแสดงออก

14. ต้องการทดลองสอบข้อสอบต่าง ๆ ข้อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

15. ต้องการข้อมูลประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ

16. ต้องการให้ผู้จัดกิจกรรมการแนะแนวเข้าใจเด็ก ๆ วัยรุ่น

17. ต้องการให้เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็น

18. ต้องการให้แนะแนวเทคนิคการเรียนต่าง ๆ เช่น เทคนิคการจำ เทคนิคการอ่าน เทคนิคการเขียน เป็นต้น

19. ต้องการให้ฝึกความคิดสร้างสรรค์

20. ต้องการให้ติวทุกเย็นหลังเลิกเรียน

21. ต้องการให้แนะแนวการปฏิบัติในรั่วมหาวิทยาลัย

22. ต้องการให้แนะแนววิธีปรับบุคลิกภาพ

23. ต้องการให้วิทยากรภายนอกมาเล่าประสบการณ์และอื่น ๆ

24. ต้องการให้จัดกิจกรรมที่หลากหลาย

25. ต้องการให้กิจกรรมนอกสถานที่

26. ต้องการให้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนในการเลือกกิจกรรม

27. ต้องการให้แนะแนววิธีการบริหารเวลา

29. ต้องการให้แนะนำหนังสือดี ๆ ที่เป็นประโยชน์

30. ต้องการให้แนะนำเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์

31. ต้องการให้แนะแนววิธีเลือกใช้ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

32. ต้องการให้แนะแนววิธีเตรียมตัวก่อนประกอบอาชีพ

33. ต้องการให้แนะแนวธรรมะ

34. ต้องการให้ส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ

35. ต้องการให้แนะแนววิธีฝึกเขียนลายเส้น

36. ต้องการให้แนะแนวศิลปะป้องกันตัว

37. ต้องการให้มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมทุกกิจกรรม

38. ต้องการให้แนะแนววิธีการจัดทำแฟ้มสะสมงาน

39. ต้องการให้แนะแนววิธีการเลือกสาขาวิชา และคณะ

40. ต้องการให้ช่วยทบทวนเนื้อหาวิชาต่าง ๆ

41. ต้องการให้แนะแนววิธีเรียนให้จบ

42. ต้องการให้แนะแนวภาษาต่าง ๆ

43. ต้องการให้จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่

44. และอื่นๆ อีกมายมาย

สำหรับการสำรวจความต้องการและความคาดหวังของผู้เรียนที่มีต่อการแนะแนว

ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, 4, 5, 6

ที่ผู้เขียนเคยจัดกิจกรรมในโรงเรียน ในช่วงฝึกประสบการณ์ จึงข้อฝากไว้เป็นแนวทางเท่านั้น

หากท่านผู้ได้จะนำไปใช้ให้ก่อประโยชน์ สามารถนำสรุปความคาดหวังนี้ไปใช้ได้

ผมเองต้องขอขอบพระคุณแทนน้อง ๆ ทุกคนคาดหวังต่อการแนะแนว

หวังว่าจะมีผู้นำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อไป

ผู้จัดกิจกรรมแนะแนวจึงควรมีการสำรวจอย่างสม่ำเสมอ

ซึ่งการแนะแนวที่ดี ควรเป็นการแนะแนวตลอดชีวิต เพื่อปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย

แนะแนวจึงไม่จำกัดอยู่ในโรงเรียนเท่านั้น แต่แนะแนวเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา

การจัดกิจกรรมแนะแนว และการแนะแนว ควรเป็นการแนะแนวที่สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา

คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต

เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนไทยทุกคน

เปลี่ยนแปลง

เปลี่ยนแปลง

สวัสดีครับ พบกับบทความแรกของ newnaew ซึ่งความตั้งใจในการสร้างเว็บนี้ก็คงเป็นที่รู้กันดีแล้ว ซึ่งท่านใดยังไม่ทราบสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ความเป็นมาแล้วกันนะครับ

เริ่มเข้าเรื่องกันเลยแล้วกัน.....

สำหรับการเปลี่ยนแปลงในที่นี้คือ เปลี่ยนแปลงสังคมการเรียนรู้ การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาร่วมกันเปลี่ยนสังคมออนไลน์ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้กัน สำหรับการจะเปลี่ยนอะไรสักอย่างนั้นต้องอาศัยหลายปัจจัยในการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นถ้าคิดจะเปลี่ยนก็สำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว ถ้าเราร่วมมือกัน การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้คงเป็นประโยชน์ต่อคนบนโลกอินเตอร์เน็ตไม่น้อย สำหรับน้องๆ ทั้งหลายที่แวะเวียนมาแล้ว หากได้อ่านบทความนี้แล้วหวังว่าน้องๆ ใช้ประโยชน์จากเว็บหน้าตาไม่สวยแต่จิตใจดีนะ......

เปลี่ยนแปลง คือ เปลี่ยนที่คน คนที่ควรเปลี่ยนก่อนคือคนที่นำไปปฏิบัติเป็นแบบอย่าง

สร้างค่านิยมการเรียนรู้ให้แพร่หลาย ไม่ยึดติดกับตำรา

เปลี่ยนอย่างสร้างสรรค์ รับฟังด้วยเหตุด้วยผล

ฝึกเรื่องเหตุผลให้หนักขึ้น

รู้จักแลกเปลี่ยนความคิด และความคิดทุกคนไม่มีถูกและผิด มีแต่ความคิดสมเหตุสมผล

เคารพความดีมาก่อน เคารพคุณธรรมมารอง เคารพความเก่งตามหลัง

สอนคนให้เก่งสอนง่าย สอนคนให้ดีสอนยาก

แต่ไม่ยากที่จะทำ หากคิดจะทำ

ฝึกคนฝึกให้รู้จักค้นหา แสวงหาคำตอบด้วยตนเอง

ตั้งคำถามให้เป็น จึงรู้จักแสวงหาคำตอบ

เรียนไม่จบไม่สิ้นคือเรียนเพื่อเพิ่มพูนปัญญา

ฝากไว้แค่นี้แล้วกันครับ......................

บริการให้คำปรึกษา

บริการให้คำปรึกษา

บริการให้คำปรึกษา หนึ่งในหัวใจของการแนะแนว มีความสำคัญและความจำเป็นอย่างมากในการช่วยเหลือผู้เรียนและผู้สนใจ

การให้คำปรึกษาสำหรับงานแนะแนวโดยทั่วไป คือ การให้คำปรึกษาในด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคม เป็นต้น

ส่วนใหญ่มักจะเจอกับการให้คำปรึกษาเรื่องส่วนตัวเป็นส่วนมาก การให้คำปรึกษาจึงมีส่วนช่วยให้ผู้มารับคำปรึกษาสบายใจ และอีกทั้งการบริการให้คำปรึกษายังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักแนะแนวกับผู้ขอรับบริการอีกด้วย

ประโยชน์ของบริการให้คำปรึกษา

*ช่วยให้เกิดความกระจ่างในปัญหาต่างๆ

*ช่วยให้เกิดความสบายใจของผู้ขอรับบริการ

*ทราบแนวทางการปฏิบัติอย่างเหมาะสม

*ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

*อื่นๆ

วิธีการและเครื่องมือสำหรับบริการให้คำปรึกษา

*การให้คำปรึกษาแบบปากเปล่า

*การให้คำปรึกษาโดยอาศัยเทคนิคต่างๆ (ตามทฤษฎี)

*แบบวัดต่างๆ เช่น อาชีพ ส่วนตัว อารมณ์ (แบบวัดทางจิตวิทยาต่างๆ )

*อื่นๆ

บริการสารสนเทศ

บริการสารสนเทศ

เป็นบริการที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับงานแนะแนว รูปแบบการให้บริการสารสนเทศ มีหลายวิธี และหลากหลายการนำเสนอ ซึ่งมีบริการสารสนเทศเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา อาชีพ เรื่องส่วนตัว เรื่องราวสาระน่ารู้ ซึ่งสามารถนำมาไว้ในบริการสารสนเทศได้ทั้งหมด ในโรงเรียนอาจจะมีมุมสารสนเทศที่เป็นข้อมูลเอกสารของโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้นักเรียนได้อ่านได้ศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินในการเลือกศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไป หรือในเรื่องอาชีพต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศหน้าห้องแนะแนว รวมไปถึงเว็บไซต์ก็สามารถจัดบริการสารสนเทศได้ ถ้าครูแนะแนวอยากทำ เพราะบริการสารสนเทศ คือการบริการด้านข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน

ดังนั้นบริการสารสนเทศ คือ การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์นั้นเอง

ประโยชน์ของบริการสารสนเทศ

*ผู้เรียนหรือผู้สนใจได้ข้อมูลที่ประโยชน์

*ประชาสัมพันธ์กิจกรรมและงานต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

*เผยแพร่เรื่องราว ประสบการณ์ สาระน่ารู้

*เป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้เรียนและผู้สนใจได้พิจารณา

*อื่นๆ

รูปแบบบริการสารสนเทศที่น่าสนใจ

*ป้ายนิเทศ

*เว็บไซต์

*ใบปลิว

*แผ่นพับ

*หนังสือ

*วารสาร

*จุลสาร

*ป้ายประกาศ

*เสียงตามสาย

*วิทยุประชาสัมพันธ์

*อื่นๆ

บริการติดตามและประเมินผล

บริการติดตามและประเมินผล

เป็นรูปแบบการบริการของแนะแนวสำหรับคอยติดตามผลในเรื่องต่างๆ อย่างเช่นติดตามผลนักเรียนที่จบจากสถานศึกษา และบันทึกส่งสถานศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้อง เพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงส่วนที่บกพร่องและเรื่องราวอื่นๆ ที่ต้องการติดตามและประเมินผล ดังนั้นบริการแนะแนวในบริการด้านนี้จึงเป็นงานที่หนักเช่นกัน

สำหรับงานติดตามผลและประเมินผลนั้นสามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกรูปแบบได้

ประโยชน์ของบริการติดตามและประเมินผล

*ทราบความความสำเร็จของผู้เรียน

*ช่วยเหลือผู้เรียนตามความเหมาะสม

*เป็นข้อมูลการพิจารณาวางแผนการบริหารการศึกษาในโรงเรียน

*เป็นข้อมูลพิจารณาความสำเร็จของการจัดการศึกษา

*เป็นข้อมูลตรวจสอบข้อบกพร่องของการจัดการศึกษา

วิธีการติดตามและประเมินผล

*แบบสอบถาม

*โทรศัพท์

*จดหมาย

*แบบสำรวจ

*นัดพบศิษย์เก่า

*ปัจจุบันนิยมสำรวจผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสถาบันศึกษานั้นๆ

*อื่นๆ


ผู้เรียบเรียง

newnaew

วันที่ 28/02/2554

รายละเอียดอื่นๆ ผู้เขียนขออธิบายเพิ่มเติมในโอกาสหน้า...นะครับ