วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติแนะแนว

แนะแนว คือ อะไร แนะแนวเป็นกระบวนการช่วยเหลือให้ผู้ที่ต้องการค้นหาสิ่งที่ตนเองรู้ว่าตนเอง ต้องการหรือชอบหรือถนัดอะไร โดยเป็นไปตามกระบวนพิจารณาหาเหตุผลประกอบในสิ่งที่ต้องการนั้น ๆ ว่าตรงตามความต้องการและความถนัดความชอบ

การแนะแนวตามหลักทฤษฎี มีที่มาจากทฤษฎีตะวันตกซึ่งผู้เขียนตำราการแนะแนวในยุคแรก ๆ คือชาวตะวันตก ซึ่งประเทศเรารับวัฒนธรรมและความรู้ถ่ายทอดกันมาอีกที

ภาษาอังกฤษก็คือ "Guidance"

บิดาของการแนะแนวอาชีพ คือ แฟรค์ พาสันส์

ทำไมจึงเป็นแฟรค์ พาสันส์ (Frank Parsons) ก็เพราะเหตุที่ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ริเริ่มการแนะแนวอาชีพยุคแรก ๆ ของการแนะแนวอาชีพ ในสมัยนั้นอาชีพยังไม่มากมายเหมือนในปัจจุบันนี้ การแนะแนวอาชีพเริ่มขึ้นที่เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ท่านผู้นี้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแนะแนวอาชีพกับการประกอบอาชีพ การจะประกอบอาชีพให้มีความเจริญก้าวหน้านั้น อาชีพนั้นต้องมีความเหมาะสมกับความสามารถ ความถนัด ความสนใจ จึงจะช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในอาชีพ

สำหรับผู้ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหาอ่านได้ จากตำราแนะแนวต่าง ๆ

การแนะแนวตะวันออก

(เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้จัดทำ)

มีแนวคิดตามหลักศาสนาพุทธ เนื่องจากศาสนาพุทธถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 2500 กว่าปี มีแนวคิดทฤษฎีจากพระศาสดา คือ พระพุทธองค์ ทรงตรัสสอนชาวโลกให้รู้ถึง วิธีการดำเนินชีวิตหลากหลายทฤษฎี

ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีการแนะแนวทางการศึกษา นำหลักหัวใจนักปราชญ์มาใช้ คือ สุ จิ ปุ ลิ เป็นแนวทางในการศึกษา เป็นต้น

ทฤษฎีการแนะแนวส่วนตัวและสังคม แบ่งได้หลายทฤษฎี โดยทฤษฎีที่ยกมาเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยจากหลายทฤษฎี เช่น หลักการครองเรือน หลักการครบเพื่อน หลักความเชื่อ กาลามสูตร เป็นต้น

การแนะแนวตะวันออกเป็นเรื่องน่าศึกษาอย่างยิ่ง ซึ่งจากบทความในตำราจิตวิทยาเก่า ๆ มีหลายงานเขียนที่ต้องการศึกษาการแนะแนวแบบตะวันออก แต่ผมยังไม่ค่อยเห็นในร้านหนังสือ หวังว่าอนาคตอันใกล้จะมีงานเขียนแนะแนวแบบตะวันออกมีวางขาย และให้ศึกษากัน

การแนะแนวเป็นเพียงส่วนช่วยให้ท่านผู้ที่กำลังอ่านบทความได้รู้จักตัวเองมากขึ้น

ส่วนความสำเร็จหรือการลงมือนั้นตัวท่านเองคือผู้กระทำ

ผู้แนะแนวเป็นเพียงผู้บอกทางให้ท่าน

ครูที่ดีที่สุด คือ ตัวท่านเอง

พุทธทาสกล่าวไว้ "สวรรค์ คือ เมื่อยกมือไหว้ตนเองได้"

สิ่งนี้ที่ผมระลึกไว้เสมอว่าครูผู้ถ่ายทอดความรู้ไม่ว่าจะเป็นตัวครู จริง ๆ ที่สอน หรือครูที่เขียนตำรา หนังสือ หรือจากบทความต่าง ๆ ท่านเหล่านั้นก็คือครู

หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์

พยัคฆ์กูรู เว็บมาสเตอร์ newnaew.net

Blogger naenaew.blogspot.com

ยินดีตอนรับทุกท่านที่มาเยือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น