วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเรียนสายอาชีพ

การเรียนสายอาชีพ

สายอาชีพ คือ สายการศึกษาเฉพาะทาง โดยเน้นให้ผู้เรียนที่จบการศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ หรือสมัครงานตามสาขานั้น ๆ ได้ ซึ่งถือว่าผู้ที่เรียนจบสาขาวิชานั้น ๆ เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานสำหรับประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้ เช่น

หลักสูตร ปวช. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หลักสูตร ปวส. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

ระดับ ปวช. เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพนั้น ๆ ซึ่งมีรู้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ตามความรู้ที่เรียน

ส่วนระดับ ปวส. เป็นระดับความรู้ที่สูงขึ้นจาก ปวช. โดยเน้นความรู้เฉพาะมากขึ้นมีความรู้ความชำนาญพิเศษมากขึ้น

การศึกษาระดับสายอาชีพสามารถศึกษาต่อได้ถึงระดับสูงสุดเท่ากับการศึกษาสายสามัญ คือ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ซึ่งเป็นการพัฒนาการศึกษาตามลำดับขั้นสำหรับผู้สนใจศึกษาต่อระดับสูงขึ้นไปเพื่อยกระดับความรู้ความสามารถ

คุณสมบัติของผู้ศึกษาต่อในสายอาชีพ

1. เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานระดับมัธยมต้นหรือเทียบเท่า

2. เป็นผู้มีความสนใจศึกษาสายอาชีพ ต้องการประกอบอาชีพตามสาขาที่เรียน

3. เป็นผู้มีระเบียบวินัยในตนเอง

4. ชอบแสวงหาความรู้

5. เคารพและศรัทธาต่อสถาบันการศึกษาที่เรียน

6. อื่นๆ

สถานศึกษาที่เปิดสอนสายอาชีพ

สถานศึกษาที่เปิดสอนสายอาชีพมีทั้งภาครัฐและเอกชน

สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ยกตัวอย่างเช่น

สารพัดช่างตามจังหวัดต่าง ๆ

วิทยาลัยเทคนิคต่าง ๆ

โรงเรียนพาณิชการต่าง ๆ

วิทยาลัยการอาชีพต่าง ๆ

มหาวิทยาลัยราชมคลต่าง ๆ

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

สำหรับการศึกษาสายอาชีพเป็นอีกทางเลือกการการศึกษา สำหรับนักเรียนและผู้สนใจทั่วไปสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากข้อมูลของสถาบันการศึกษาที่เปิดรับสมัครผู้สนใจเรียนสายอาชีพ

โดยสาขาวิชาที่เปิดสอนแต่ละยุคสมัยอาจมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างตามความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม และตอบรับกับความต้องการของแรงงานที่ตลาดต้องการ

แต่การศึกษาสายอาชีพไม่ได้หยุดอยู่เพียงการเป็นแรงงานเท่านั้น ผู้ที่จบการศึกษาสามารถประกอบอาชีพส่วนตัว หรือเลือกศึกษาในระดับสูงขึ้นเพื่อพัฒนาวิชาชีพให้มีคุณค่าขึ้นได้ไม่ต่างจากการศึกษา

ในสายสามัญ อีกทั้งยังมีข้อดีกว่าสายสามัญบางประการ คือ เมื่อจบการศึกษาระดับ ปวช. หรือ ปวส. ท่านมีโอกาสเข้าทำงานมากกว่าจบระดับสายสามัญ

เนื่องจากมีความรู้ความชำนาญสามารถประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้ตามความสามารถที่เรียน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพส่วนตัว ประกอบอาชีพอิสระ หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาได้เช่นกัน

15 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 ธันวาคม 2554 เวลา 00:54

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ5 ธันวาคม 2554 เวลา 18:51

    ยินดีมากครับ...ที่มีประโยชน์ต่อท่านผู้สนใจ
    จาก เจ้าของ blog

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ22 มีนาคม 2555 เวลา 01:27

    จากประสบการณืการเป็นครูมาการเรียนต่อน่าจะเรียนแบบต่อยอดนะคะ อย่างจบสายอาชีพ ปวช ก็ต้องต่อ ปวส นะคะ http://www.payaptechno.ac.th/payaps/index.php?lang=th
    นี่อาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่หาที่เรียนอยู่นะนะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ22 พฤษภาคม 2555 เวลา 08:44

    อยากรู้รายได้ของแต่ละอาชีพด้วยอะครับดูที่ไหน

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ22 พฤษภาคม 2555 เวลา 08:46

    ยังไม่ได้ให้รายละเอียดไว้ใน blog นะครับ เดี๋ยวจะหามาเพิ่มให้ในโอกาสหน้าแล้วกันครับ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ5 ตุลาคม 2555 เวลา 09:23

    ผมเห็นรุ่นพี่เรียน ปวช. ปวส. และต่ออีก 1 ปี คือ ปม.(ไม่แน่ใจ ตรงนี้ตอบหน่อย) ก็ได้เป็น ครูสอน ในสายพาณิชย์ได้

    แต่จำนวนห้องจะน้อยลง

    ตอบลบ
  7. ตอบคำถามเกี่ยวกับการเป็นครูสอนในสายอาชีพ เนื่องจากปัจจุบันหลักสูตรสายครุศาสตร์ เกี่ยวกับการสอนทั้งสายอาชีพ และสายสามัญได้จัดระบบใหม่ให้มีการฝึกสอน 1 ปี ร่วมเป็น 5 ปีในสายปกติ ส่วนสายต่อเนื่องขึ้่นอยู่กับสถาบันทางการศึกษานั้นกำหนด แต่ถ้าหากจะบรรจุเป็นข้าราชการครู การเรียนต่อ ปม. 1 ปีที่น้องว่าไม่สามารถสอบรรจุได้ แต่อาจเป็นพนักงานอัตราจ้างได้ สุดท้ายคงต้องต่อปริญญาในสายการสอนอยู่ดีนะครับหรือรองหาข้อมูลเพิ่มนะครับ เนื่องจากหลักสูตร ปม. พี่ไม่ได้ศึกษารายละเอียดว่ามีหลักเกณฑ์อะไรบ้างนะครับ เป็นกำลังใจให้นะครับ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ30 พฤษภาคม 2556 เวลา 20:14

    แล้วถ้าเรียนสายอาชีพ สายอะไรดีที่สุดค่ะ

    ตอบลบ
  9. ขอบคุณมากครับ ได้รู้เยอะเลย^^

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ25 สิงหาคม 2558 เวลา 01:28

    เรียนจบ ปวช.ครับ แต่เป็นสาขาพาณิช ถ้าจะต่อ ปวส. สาขาวิช่าง
    สามาถร นำวุฒิ ปวช.ที่เรียนพาณิช ไปสมัครได้ไหมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ26 สิงหาคม 2558 เวลา 06:30

      ขึ้นอยู่กับสถาบันการศึกษาและสาขาวิชาอีกทีครับ
      บางแห่ง การเรียนต่อ ปวส. สามารถใช้วุฒเทียบเท่า ม. 6 วุฒิ ม. 6 วุฒิ ปวช. ที่ไม่ตรงสาขาได้ ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าเปิดรับจะแบ่งเป็นอีกห้องเรียนสำหรับผู้ที่ไม่ได้จบโดยตรงมาเพื่อปรับพื้นฐานความรู้ทางช่างสาขานั้น ๆ อีกทีครับ ยังไงก็ลองสอบถามตอนสมัครกับเจ้าหน้าที่รับสมัครอีกทีนะครับ

      ลบ
  11. ถ้าจบปวสสามารถต่อป.ตรี ดัยม้ค่ะ
    ถ้าเราจบปวสสามารถทำงานดัยเลยม้ค่ะ
    สาขาการโรงแรงจะเรียนเกี่ยวกับอะรัยบางค่ะ
    แล้วจบมาทำงานอะรัยดัยบางค่ะ

    ตอบลบ
  12. ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ

    ตอบลบ
  13. เข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากค่ะ หนูเรียนสายอาชีพ ตอนนี้อยู่ปวช.ปี2แล้ว ได้ความรู้แล้วก็ได้งานไปส่งครูด้วย ขอบคุณที่เขียนขึ้นมานะคะ 🙏🏻

    ตอบลบ
  14. ถ้าจบปวส.แล้วต้องต้องป.ตรีอีกกี่ปี

    ตอบลบ