วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อาชีพเกษตรกร

อาชีพเกษตรกร

เกษตรกร เป็นผู้ทำหน้าที่ผลิตวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น ผลไม้ พืช ผัก และสัตว์

ความเป็นมาของอาชีพเกษตรกรในประเทศไทย

อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพดั่งเดิมของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตข้าวของโลก ผู้คนในอดีตสืบทอดการทำการเกษตรให้ลูกหลานต่อกันมาเป็นทอด ๆ โดยข้าวเป็นพืชเกษตรหลักในการหาเลี้ยงชีพ ส่วนการปลูกผลไม้ ปลูก พืชผัก ผลไม้อื่น ๆ เป็นเพียงการปลูกรับประทานในครัวเรือน และแบ่งปันญาติมิตรเพื่อนบ้าน เหลือจึงขาย เมื่อการเปลี่ยนแปลงยุคเกษตรกรรมแบบตะวันตกเริ่มเข้ามาในประเทศไทย คน ไทยได้รับเอาวิธีการผลิตพืชผลเกษตรเข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำเกษตรแบบ เดิมจากการปลูกพืชผสมผสมผสาน ปลูกข้าวเป็นหลัก มาเป็นการปลูกพืช ผลไม้เชิงเศรษฐกิจเพียงชนิดเดียว เป็นหลัก เช่น

พืชผัก ได้แก่ หอม ข้าวโพด มันสำประหลัง อ้อย และผักอื่น ๆ ฯลฯ

ผลไม้ ได้แก่ ลำไย มะพร้าว มะม่วง มะขาม ทุเรียน ลิ้นจี่ สับปะรด ฯลฯ

และมีการนำเทคโนโลยีส่งเสริมการเกษตรเข้ามาแทนที่การทำการเกษตรแบบเดิม ด้วยควายเหล็ก หรือ รถไถ เครื่องสูบน้ำ เครื่องพ่นยา ปุ๋ยเคมี และสารเคมีต่าง ๆ ฯลฯ

การทำการเกษตรในประเทศจึงเข้าสู่ยุคการเกษตรเชิงเศรษฐกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และพ่อค้าคนกลาง

ปัจจุบันการเกษตรมีทิศทางหลากหลายมากขึ้น ทำให้การเกษตรไทยเข้าสู่ยุคเกษตรธรรมชาติ

ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

เช่น

การเกษตรแบบธรรมชาติ

การเกษตรแบบทางเลือก

การเกษตรแบบเศรษฐกิจ (พืช ผลไม้เชิงเดี่ยว)

การเกษตรแบบไร่นาผสมผสาน

การเกษตรแบบปลอดสารเคมี

การเกษตรแบบไร้ดิน

และอื่น ๆ เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

1. มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือมีพื้นที่เช่าสำหรับทำการเกษตร

2. มีความแข็งแรงทางด้านร่างกาย

3. มีความรู้ด้านการทำการเกษตร

4. มีความอดทนสูง

5. ความขยันหมั่นเพียร

6. รักการแสวงหาความรู้

7. และอื่นๆ ตามความสามารถเฉพาะบุคคล

ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

ทำการเกษตรตามความสนใจ เช่น

เกษตรปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงหมู วัว ควาย กวาง นกกระจอกเทศ เป็นต้น

เกษตรประมง ได้แก่ การเลี้ยงปลา กุ้ง ตะพาบน้ำ กบ เป็นต้น

เกษตรพืชไร่ ได้แก่ การปลูกข้าว ปลูกผัก เป็นต้น

เกษตรพืชส่วน ได้แก่ การปลูกลำไย ทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ เงาะ ส้ม เป็นต้น

เกษตรทางเลือก ได้แก่ เกษตรแบบปลอดสารเคมี เกษตรแบบพอเพียง เกษตรแบบธรรมชาติ เกษตรแบบวนเกษตร และอื่น ๆ

เกษตรแบบเทคโนโลยี ได้แก่ การเกษตรที่อาศัยเทคโนโลยีช่วยผลิต และควบคุมดูแลเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ การปลูกผักไร้ดิน การทำเกษตรแบบโรงเรือน การทำเกษตรเลี้ยงสัตว์แบบปิด และอื่น ๆ อีกมากมาย

แนวทางการพัฒนาอาชีพ

1. เจ้าของกิจการ

2. นายจ้างตนเอง

3. ผู้ประกอบการด้านการเกษตร

4. ผู้ผลิตอาหาร

5. และอื่น ๆ อีกมากมาย

(ต้องใช้ความสามารถและสติปัญญาในการพัฒนาอาชีพ อาชีพเกษตรจึงจะเจริญรุ่งเรืองตามแนวทางการพัฒนาอาชีพ)

แหล่งความรู้เพิ่มเติม

1. อินเตอร์เน็ต

2. ห้องสมุด

3. ศูนย์เรียนรู้ต่าง ๆ

4. หนังสือการเกษตรตามท้องตลาดทั่วไป

5. มหาวิททยาลัยต่าง ๆ ที่เปิดสอนคณะเกษตร

6. มหาวิทยาลัยเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้

7. อื่น ๆ

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

อาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่สืบทอดจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น

ยุค นี้เป็นยุคที่เข้าขั้นวิกฤติของเกษตรกร เนื่องจากผู้คนในสังคมยุคปัจจุบันไม่ต้องการประกอบอาชีพเกษตร เพราะเห็นว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพแรงงาน อาชีพเกษตรกรจึงน่าเป็นห่วงมากขึ้น

แท้ที่จริงแล้วอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่หาความเจริญก้าวหน้าได้ง่าย ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปสักกี่ปี

เกษตรกรรมยังอยู่คู่มนุษย์ตลอดเวลา

เนื่องจากเป็นต้นทางของวัตถุดิบทางอาหาร

มนุษย์ต้องบริโภคอาหารเป็นประจำ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับอาหารจึงสามารถเติบโตได้ตลอดเวลา

เพียงแต่ใช้สติปัญญา และความคิด อาชีพไหน ๆ ก็มีหนทางเจริญก้าวหน้าได้ทั้งนั้น

การหาหนทางพัฒนาอาชีพด้วยการแสวงหาความรู้และเข้ารับการศึกษาในระดับสูง

สามารถช่วยพัฒนาความคิดและสามารถต่อยอดได้ไม่สิ้นสุด

ตลอดจนการแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพให้ยั่งยืนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น